โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก รักษาโดยการฉีดยาโบทูลินั่ม ท็อกซิน

December 13 / 2023

 

 

 

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

รักษาด้วยการฉีดยาโบทูลินั่ม ท็อกซิน

 

 

ผศ.นพ.ปรัชญา ศรีวานิชภูมิ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท

 

 

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกมีอาการอย่างไร ?

 

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกเป็นโรคในกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งจะเป็นรูปแบบของการ “กระตุก” ของกล้ามเนื้อใบหน้าโดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเกิดที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง อาการกระตุกจะเกิดขึ้นในกลุ่มของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ควบคุมโดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ได้แก่ กล้ามเนื้อรอบดวงตา หน้าผาก มุมปาก และ กล้ามเนื้อชั้นตื้นบริเวณลำคอ อาการกระตุกที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นแบบสุ่ม ไม่เป็นจังหวะ ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นช่วงใด และไม่สามารถควบคุมได้ ในรายที่มีอาการมากอาจมีการกระตุกจนกล้ามเนื้อหดเกร็งค้างทำให้ใบหน้าดูผิดรูป ตาข้างที่มีอาการลืมไม่ขึ้น หรือมุมปากข้างที่มีอาการหดเกร็งจนดูเบี้ยวผิดรูปได้ โดยรายที่มีอาการหดเกร็งมากอาจมีอาการปวดใบหน้าข้างดังกล่าวได้ นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการได้ยินเสียง “คลิก” ในหูข้างเดียวกันกับที่มีอาการใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

 

 

 

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกพบได้บ่อยเท่าไร ?

 

มีการศึกษาถึงความชุกในการเกิดโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกนั้นพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีความชุกในการพบโรคดังกล่าวในเพศหญิงอยู่ที่ประมาณ 14.5 รายต่อประชากร 100,000 ราย ในขณะที่ในเพศชายพบความชุกอยู่ที่ประมาณ 7.4 ราย ต่อ ประชากร 100,000 ราย อย่างไรก็ตามพบว่าความชุกดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นในชาวเอเชียมากกว่าชาวตะวันตก

 

 

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ?

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการใบหน้ากระตุกครึ่งซีกนั้นมีหลากหลาย โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • เป็นตามหลังภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ (Bell’s palsy)  หรือ บาดเจ็บ
  • การมีวงของหลอดเลือด (vascular loop) ที่บริเวณก้านสมองไปกดเบียดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7

 

 

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกแต่พบได้ไม่บ่อย ได้แก่

  • เนื้องอกบริเวณก้านสมอง
  • โรคปลอกเยื่อหุ้มประสาทส่วนกลางอักเสบ (demyelinating diseases) เป็นต้น

 

 

 

ปัจจัยใดที่กระตุ้นให้โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกมีอาการหน้ากระตุกเพิ่มขึ้น ?

 

ตัวอย่างของปัจจัยที่อาจจะกระตุ้นให้อาการกระตุกเป็นเพิ่มขึ้นได้แก่

  • แสงสว่างมากๆ หรือ เสียงดังๆ
  • การเคี้ยว หรือ การพูด
  • การล้างหน้า และ/หรือ แปรงฟัน
  • การอดนอน ความเครียด หรือ วิตกกังวล
  • การจ้องหน้าจอ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน

 

 

แนวทางการรักษาโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกที่มีในปัจจุบันคืออะไร ?

 

ปัจจุบันแนวทางการรักษาโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกแบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่

  • การรับประทานยา
    • ข้อดี : ไม่มีอาการเจ็บปวด เลือดออก หรือติดเชื้อซึ่งอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้จากการฉีดยาหรือผ่าตัด
    • ข้อเสีย : เนื่องจากยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในการลดอาการกระตุกมีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม เพราะฉะนั้นอาจรบกวนการทำงาน ใช้ชีวิตประจำวัน หรือ เป็นอันตรายต่อการเดินทางโดยเฉพาะในรายที่ต้องขับขี่ยานพาหนะ
    • ระยะเวลาในการรักษา: เนื่องจากการรับประทานยาเป็นการบรรเทาอาการกระตุกเมื่อยาหมดฤทธิ์อาการกระตุกก็สามารถกลับมาเป็นได้ ฉะนั้นการรับประทานยาจึงจำเป็นต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ฤทธิ์ในการคุมอาการกระตุกเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
    • ตัวอย่างชนิดยารับประทาน ได้แก่
      • ยาโคลนาซีแพม (clonazepam)
      • ยาคาร์บามาซีพีน (carbamazepine)
      • ยาบาโคลเฟน (baclofen)
  • การฉีดยาโบทูลินั่ม ท็อกซิน เข้าสู่กล้ามเนื้อที่มีอาการกระตุกเพื่อลดอาการกระตุก
    • ข้อดี : เป็นการฉีดยาโดยตรงเฉพาะจุดเข้าสู่กล้ามเนื้อที่มีอาการกระตุก ซึ่งจะไม่ส่งผลต่ออวัยวะในระบบอื่นๆของร่างกาย ประสิทธิภาพในการลดภาวะกล้ามเนื้อกระตุกสูงถึงร้อยละ 70-80
    • ข้อเสีย : อาจเกิดความเจ็บปวด ห้อเลือด เลือดออก หนังตาตก มุมปากตก หรือ การติดเชื้อบริเวณที่ทำการฉีดยา แต่อย่างไรก็ตามด้วยเทคนิคในการฉีดยาในปัจจุบัน โอกาสการเกิดผลข้างเคียงดังกล่าวพบได้น้อยมาก และ ผลข้างเคียงดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
    • ระยะเวลาในการรักษา: เนื่องจากยาโบทูลินั่ม ท็อกซิน ออกฤทธิ์ได้ครั้งละประมาณ 3-4 เดือน เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องกลับมารับการฉีดยาต่อเนื่องทุก 3-4 เดือน เพื่อลดอาการกระตุกอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายฤทธิ์ในการลดอาการกระตุกอาจอยู่ได้นานถึง 6 เดือน ฉะนั้นระยะห่างของการกลับมาฉีดยาซ้ำก็สามารถยืดระยะเวลาให้นานขึ้นได้
    • ตัวอย่างของยาโบทูลินั่ม ท็อกซิน ชนิด เอ ที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
      • OnabotulinumtoxinA ชื่อการค้าคือ Botox®
      • AbobotulinumtoxinA ชื่อการค้าคือ Dysport®

 

  • การผ่าตัดเพื่อแยกวงของหลอดเลือดบริเวณก้านสมองออกจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7
    • ข้อดี : ในรายที่ผู้ป่วยตรวจพบจากการฉายภาพรังสีว่ามีวงของหลอดเลือดกดเบียดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ชัดเจน การผ่าตัดเพื่อแยกหลอดเลือดออกจากเส้นประสาทจะเป็นการรักษาที่ตรงจุดและลดอาการใบหน้ากระตุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ข้อเสีย: อาจเกิดความเจ็บปวด เลือดออก หรือ เกิดการติดเชื้อบริเวณที่ทำการผ่าตัด นอกจากนี้อาจพบภาวะใบหน้าเบี้ยวผิดรูป เดินเซ หรือ การได้ยินของหูข้างที่ทำการผ่าตัดลดลง อย่างไรก็ตามด้วยเทคนิคในการผ่าตัดในปัจจุบัน โอกาสการเกิดผลข้างเคียงดังกล่าวพบได้น้อยมาก
    • ระยะเวลาในการรักษา: โดยทั่วไปผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพียง 1 ครั้ง ก็เพียงพอในการควบคุมอาการกระตุกของใบหน้าในระยะยาว แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายที่อาการกระตุกกลับมาเป็นซ้ำอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำ หรือเปลี่ยนวิธีการรักษาเป็นการฉีดยาโบทูลินั่ม ท็อกซิน

 

 

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก เป็นภาวะที่ไม่รุนแรง แต่ใบหน้าเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญและสูญเสียความมั่นใจได้

 

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

ผศ.นพ.ปรัชญา ศรีวานิชภูมิ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท

 

 

 

12/11/63

 

 

 

 

 

 

 

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (High Dose Flu Vaccine For Elderly)

ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 24.2%

ราคา 2,400 บาท

แพ็กเกจวัคซีนพื้นฐานวัคซีนตามเกณฑ์อายุตั้งแต่ 1 - 8 เดือน

เด็กน้อยอายุ 1 เดือน – 18 เดือน เสริมด้วยวัคซีน Rotarix เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

ราคา 11,000 บาท

แพ็กเกจวัคซีนเสริม Prevnar 13

พ่อแม่ยุคใหม่ สร้างเกราะป้องกันให้ลูกด้วย “วัคซีนป้องกันเชื้อไอพีดี”

ราคา 10,500 บาท

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

การฉีดวัคซีน HPV ไม่เพียงช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ

ราคา 8,000 บาท