นพ. สุชาติ ตรีทิพย์ธิคุณ
จิตเวชศาสตร์
จิตแพทย์แนะ!! ความเครียด VS โควิด-19
นับตั้งแต่ปลายปี 2019 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โควิด-19 เป็นโรคคระบาดที่ได้คร่าชีวิตผู้คนในโลกไปแล้วกว่า 3.71 ล้านคน จากผู้ติดเชื้อรวม 173 ล้านคน สำหรับประเทศไทย มีเสียชีวิตรวม 1,213 คน จากผู้ติดเชื้อรวม 1.75 แสนคน (7 มิถุนายน 2021) ย้อนหลังไปเมื่อต้นปี 2020 ในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระยะแรกๆ ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยจำนวนมาก ผู้คนเริ่มคาดหวังถึงเรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และต้องการได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด
ในที่สุดวัคซีนต้านโรคโควิด-19 เข็มแรกของโลกผลิตโดยบริษัท Pfizer ได้รับการฉีดให้กับ มาร์กาเรต คีแนน หญิงชาวอังกฤษวัย 90 ปี
หลังจากนั้นได้มีประชาชนในประเทศต่างๆ ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ต่อมาเริ่มปรากฎรายงานข่าวเกี่ยวกับผู้ที่แพ้วัคซีนโควิด-19 ชนิดรุนแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความสงสัย ไม่แน่ใจ ขาดความเชื่อถือ และปฎิเสธที่จะฉีดวัคซีนโควิด-19 ดังเช่นที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น ฮ่องกง, ไต้หวัน, เกาหลี, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเทศไทย จนรัฐบาลในหลายประเทศต้องออกมาตราการต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนยอมมารับการฉีดวัคซีนโควิด-19
เนื่องจากขณะนี้เกิดความวิตกในหมู่คนไทยในวงกว้าง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
เกิดกระแสเรียกร้องกดดันไปยังรัฐบาลให้รีบเร่งหาวัคซีนโควิด-19 หลากหลายยี่ห้อในปริมาณที่มากพอ และในเวลาอันรวดเร็วต่อเนื่องกันมาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
ทั้งนี้เกิดจากความวิตกกังวลอย่างสูงว่าจะเกิดอาการแพ้วัคซีนโควิด-19 จนถึงขั้นเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิต อันเป็นผลมาจากการทำเสนอข่าวกรณีนี้อย่างต่อเนื่อง โดยที่หลายรายไม่มีการชี้แจงถึงสาเหตุที่แท้จริงอย่างชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อยากฉีดแต่ต้องการเลือกประเภทและยี่ห้อของวัคซีนโควิด-19
เนื่องจากมีข้อแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านผ่านสื่อยูทูปจำนวนมากในหัวข้อ “จะฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่ฉีดดีกว่ากัน” จึงขอทำมาเสนอเป็นช่องทางให้ผู้อ่านบทความนี้ไปศึกษาเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินของท่านต่อไป
ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นจิตแพทย์ มีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
การดูแลและรักษาผู้ป่วยทางจิตเวช
ผู้ที่รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 บางรายอาจมีกลุ่มอาการอย่างหนึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งจะมีอาการดังนี้
กลุ่มอาการนี้ทางการแพทย์เรียกว่า Vaso-Vagal Syncope (common fainting = เป็นลม) สาเหตุเกิดจากความเครียดอย่างรุนแรง เช่น ขณะนั่งรอรับการฉีดวัคซีนเหลือบไปเห็นเข็มฉีดยา ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเองหวาดกลัวมาก่อน ได้ยินคนข้างๆ พูดคุยเกี่ยวกับอาการแพ้ยาขั้นรุนแรง แล้วทำให้เกิดอาการหวาดกลัวสุดขีด ทำให้สมองถูกกระตุ้นอย่างแรง ส่งผลให้ระบบประสาทอัตโนมัติประเภท parasympathetic ทำงานมากกว่าระบบ sympathetic
โดยทั่วไปอาการจะเกิดเพียงไม่กี่วินาทีหรืออย่างมากไม่เกิน 2 นาที หลังจากนั้นผู้ป่วยจะฟื้นคืนสติได้เอง การปฐมพยาบาลหลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขในที่แห่งนั่น
แม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว แต่ยังต้องสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อเป็นการป้องกันโรคโควิด-19 ในระยะยาว
22/6/64
จิตเวชศาสตร์