'วัคซีน HPV' ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้ง่าย ๆ

November 15 / 2024

 

 

 โรคมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน HPV

 

     โรคมะเร็งปากมดลูกมักเกิดกับผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่เดี๋ยวนี้คุณหมอบอกว่าเป็นในผู้หญิงอายุน้อยลง แล้วก็ทำให้ผู้หญิงไทยของเราเสียชีวิตด้วยโรคนี้เยอะมากทีเดียว จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคมะเร็งปากมดลูกคร่าชีวิตหญิงไทยปีละ 5,200 รายเฉลี่ยวันละ14 ราย ป่วยเพิ่มขึ้นปีละ10,000 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ 45-55 ปี

 

 

มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุอะไร ? 
     มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เกิดจากโรคติดต่อ ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งและเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ชื่อเต็มๆ เรียกว่า “ฮิวแมน แพปพิลโลมา ไวรัส” (Human Papilloma Virus) หรือ HPV เชื้อตัวนี้ถ้าเราจะคุ้นเคยก็คือเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ ซึ่งเราพบมาเนิ่นนานแล้ว เพียงแต่ว่ากลุ่มเชื้อของตัวที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่นั้นเป็นชนิดความรุนแรงน้อยส่วนตัวที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นชนิดที่มีความรุนแรงมาก

 

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ? 

     โรคมะเร็งปากมดลูกถือเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากในระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีการลุกลามจนกลายเป็นมะเร็งขึ้น มีแค่ระดับเซลล์ที่ผิดปกติแค่นั้น ผู้ป่วยจะไม่มีอาการอะไรเลยแล้วก็จะนิ่งนอนใจว่าคงจะไม่ได้เป็นอะไร ทำให้คลาดจากการตรวจคัดกรองที่สำคัญไปคือการตรวจสุขภาพประจำปีทางสูตินรีเวช ซึ่งเรียกว่า แปปสเมียร์ (Pap smear) ซึ่งสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์ผิดปกติระยะเริ่มต้นก่อนพัฒนากลายเป็นมะเร็ง และสามารถรักษาก่อนพัฒนากลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการมีเลือดออกมากผิดปกติ ตกขาวมีกลิ่นที่ผิดปกติ หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ 

 

วัคซีน HPVวัคซีน HPV

 

 

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทำอย่างไร ? 

ปัจจุบันการตรวจได้พัฒนาสามารถตรวจได้หลายวิธี ดังนี้

 

  • วิธีดั้งเดิมเรียกว่า Conventional Pap Smear มีความไว 50- 60% Saul 98% ปัญหาที่พบจากการตรวจวิธีนี้คือ เวลาเราป้ายเซลล์ไปตรวจด้วยทันทีข้อจำกัดของแผ่นสไลด์และการปนเปื้อนของเลือดหรือตกขาวทำให้ไม่ได้เซลล์ทั้งหมดที่เก็บมาตรวจ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยรายนั้นไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง อันนี้เรียกว่าผลลบลวง 
  • ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี ลิควิด เบส (Liquid Based Cytology) ซึ่งคือการตรวจ ตินเพร็พ (Thin Prep) หรือ Liqui-PREP หรือ SurePath โดยใช้อุปกรณ์เฉพาะในการเก็บตัวอย่างป้ายเยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูกด้วยวิธีเดียวกับการทำแปปสเมียร์ แบบดั้งเดิมแล้วนำเซลล์ตัวอย่างที่เก็บได้ทั้งหมดใส่ลงในขวดน้ำยาเพื่อรักษาเซลล์ส่งเข้าเครื่องอัตโนมัติ ในการเตรียมเซลล์เยื่อบุผิวที่ปราศจากสิ่งปนเปื้อนพวกมูกหรือเม็ดเลือดและลดการซ้อนทับของเซลล์ที่หนาแน่นเกินไปลงบนแผ่นสไลด์แก้ว ช่วยเพิ่มโอกาสให้พยาธิแพทย์ในการตรวจพบความผิดปกติที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น และสามารถส่งการตรวจเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูก เพิ่มเติมได้ในกรณีพบเซลล์ผิดปกติจากการตรวจแปปสเมียร์ หรือสามารถใช้ตรวจคู่ร่วมกับ แปปสเมียร์ co - testing จากการตรวจคัดกรองรอบแรกเป็นการตรวจที่เพิ่มความแม่มยำในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  

 

วัคซีน HPVวัคซีน HPVวัคซีน HPV

 

 

ใครบ้างที่ควรมาตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูก ? 

 

  • สตรีอายุ 25 ปี ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือ อายุ 30 ปี ในสตรีที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์
  • สตรีที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine) ควรได้รับการตรวจคัดกรองเช่นเดียวกับสตรีทั่วไป
  • สตรีที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรตรวจคัดกรองทุก 6 เดือน ในปีแรกหลังวินิจฉัยโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หลังจากนั้นจึงตรวจปีละ 1 ครั้ง ไปตลอด  
  • สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย 
  • สตรีที่มีบุตรหลายๆ คน 
  • สตรีที่สูบบุหรี่ 

 

ข้อแนะนำสำหรับผู้หญิงไทยในเรื่องมะเร็งปากมดลูก 

     โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคซึ่งพบได้มากเป็นอันดับสองรองจาก มะเร็งเต้านมและมีอันตรายร้ายแรง แต่ถ้าเราสามารถตรวจพบในระยะแรกเริ่มก่อนเป็นมะเร็ง

 

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก 

     การรักษาอาจแค่ผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อที่ผิดปกติบริเวณนั้นออกหรือตัดมดลูกออกไป ในผู้ป่วยที่มีลูกเพียงพอแล้ว ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยให้ระยะของโรคลุกลามจนเป็นมะเร็งระยะ 1,2,3,4 ความรุนแรงมักจะมากขึ้นเรื่อยๆ การรักษาก็จะทำได้ยากลำบาก และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้นอย่างมาก

 

วัคซีน HPV 

แต่ปัจจุบันมีการนำ “วัคซีน HPV” ซึ่งสกัดเชื้อไวรัส HPV มาใช้ฉีดเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกและให้ผลค่อนข้างดี โดยฉีดบริเวณต้นแขนและใช้ได้กับเด็กหญิงตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป

 

  • วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งช่วยป้องกันตัวเองจากโรคร้ายที่คุกคามชีวิตของผู้หญิงไทยในปัจจุบันให้มีความปลอดภัยมากขึ้น จึงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์สูตินรีเวชเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนดังกล่าวด้วย ร่วมกับวิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพดีก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้มากที่สุด 

 

วัคซีน HPVวัคซีน HPVวัคซีน HPV

 

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่อันตราย สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน HPV และถ้าตรวจพบในระยะแรกเริ่ม ก็สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้