เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้มีผู้ติดเชื้อหลายพันคนต่อวัน จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ อีกทั้งผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลในระยะเวลาสั้น ๆ และไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่ที่รัฐจัดให้ได้ หากต้องทำ Home Isolation ต้องทำอย่างไร
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งระดับอาการผู้ป่วยโควิด-19 ตามระดับอาการป่วยออกเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง เพื่อการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ดังนั้นแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้านต้องอยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ และอยู่ในระบบการตรวจสอบ ติดตามอาการ หากอาการเปลี่ยนแปลงก็มีระบบส่งต่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
ผู้ที่เข้าเกณฑ์ในการทำ Home Isolation
หากบ้านมีพื้นที่เพียงพอ เราสามารถแยกผู้ป่วยไปอยู่ในห้องส่วนตัวคนเดียว
อุปกรณ์สำคัญที่ควรมีติดตัวไว้เพื่อช่วยในการประเมินอาการเบื้องต้น
ข้อแนะนำสำหรับการทำงาน
สิ่งสำคัญคือต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง วัดอุณหภูมิทุกวัน หากอาการแย่ลง เช่น หอบ เหนื่อย มีไข้สูง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ให้รีบติดต่อโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ ทางโรงพยาบาลจะมีรถไปรับเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หากจำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาลด้วยตัวเอง แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวและสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีผู้ร่วมยานพาหนะมาด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพิ่มการระบายอากาศ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เดินทางไปด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่นอนโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่และคุณหมอคงดูแลเรื่องนี้อย่างรอบคอบอยู่แล้ว แต่คนติดเชื้อที่ทำ Home Isolation แล้วอาจไม่เคยทราบข้อมูลมาก่อน ว่ายาประเภทไหนตอนเราเป็นโควิดควรเลี่ยงบ้างหลักๆ ก็มี 2 กลุ่มที่ต้องระวังด้วยกัน คือ
วิธีดูแลเบื้องต้นคือ พยายามตรวจน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ ถ้าเห็นว่าน้ำตาลสูง ก็สามารถใช้ยาเดิมที่หมอจ่ายไว้ให้ได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าน้ำตาลต่ำอยู่แล้ว อันนี้คงต้องงดอินซูลิน หรือพวกยากินไปก่อน เพราะถ้าเป็นโควิดแล้วน้ำตาลต่ำมันค่อนข้างอันตรายกว่าปกติ
อันนี้ในกรณีที่เราดื่มน้ำน้อยก็ควรงดหรือลดไปก่อน เพราะการปัสสาวะออกมา โดยที่ไม่มีอะไรเติมเข้ามันจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและขาดน้ำได้ ยิ่งถ้ามีไข้ร่วมด้วย ร่างกายก็จะใช้พลังงานมาก และจะยิ่งเพลียมากขึ้นไปอีก
Home Isolation เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มไม่มีอาการ โดยแพทย์ได้พิจารณาแล้วว่าสามารถทำ Home Isolation ได้
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข