เด็กในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เกิดได้กับคุณแม่ช่วงทุกอายุ

December 14 / 2023

 

 

เด็กในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เกิดได้กับคุณแม่ทุกอายุ

 

 

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเด็กดาวน์ซินโดรมจะเกิดจากแม่อายุมากกว่า 35 เท่านั้น เนื่องจากแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีอายุน้อย โดยพบว่าในเด็กกลุ่มอาการดาวน์ 100 คน จะคลอดจากแม่อายุมากกว่า 35 เพียง 25-30 คน  อีก 70-75 คน เกิดจากแม่ที่มีอายุน้อย แม้แม่ที่มีอายุมากจะมีความเสี่ยงที่จะมีลูกดาวน์ซินโดรมสูงกว่า

 

 

 

 

 

แต่เนื่องจากแม่เหล่านี้มีจำนวนน้อย ประกอบกับแม่อายุมากมักจะได้รับการแนะนำจากแพทย์ให้ตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์อยู่แล้ว ดังนั้น การตรวจพบเด็กดาวน์ซินโดรมจึงทำได้แค่ 25-30% ในขณะที่แม่อายุน้อย ดังนั้น คุณแม่ทุกคนควรตรวจหาอาการดาวน์ซินโดรม แม้ว่าคุณแม่จะอายุน้อยก็ตาม

 

 

รู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นดาวน์ซินโดรม ?

 

ในอดีต การจะรู้ว่าลูกเป็นเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมหรือไม่ ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโครโมโซมซึ่งมีโอกาสแท้งจากการตรวจได้ และมีค่าใช้จ่ายสูง และมักตรวจเฉพาะแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปีเท่านั้น แม่ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี จึงไม่ทราบล่วงหน้าว่าตั้งครรภ์ทารกที่เป็นดาวน์

 

ปัจจุบัน มีการตรวจกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เพื่อให้แม่ทุกคนสามารถรู้ได้ว่าลูกเสี่ยงต่อการเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ โดยการตรวจเลือดแม่ ร่วมกับการทำอัลตราซาวด์ ซึี่งไม่เสี่ยงต่อการแท้ง และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เพื่อให้แม่ทุกคนสามารถตรวจได้โดยเฉพาะแม่อายุน้อย 

 

 

 

วิธีการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม

 

วิธีที่ 1 : ตรวจครั้งเดียวในไตรมาสแรก (Combined Test)     

ทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-13  สัปดาห์ ประกอบด้วย การตรวจอัลตราซาวด์วัดความหนาต้นคอทารก ร่วมกับเจาะเลือดแม่ วิธีนี้ตรวจกรองดาวน์ซินโดรมได้ 87%

 

 

วิธีที่ 2 : ตรวจ 2 ครั้งในไตรมาสแรกและต้นไตรมาสที่ 2 (Integrated Test)

เป็นวิธีที่สามารถตรวจกรองดาวน์ซินโดรมได้สูงถึง 96% โดยการตรวจอัลตราซาวด์วัดความหนาต้นคอทารก ร่วมกับเจาะเลือดแม่ครั้งแรกตอนอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ แล้วต้องตรวจเลือดอีก 1 ครั้ง 2-4 สัปดาห์ต่อมา รายงานผลหลังจากเจาะเลือด ครั้งที่ 2

 

 

วิธีที่ 3 : ตรวจครั้งเดียวในไตรมาสที่ 2 (Quaduple test)

แต่กรณีที่แม่ฝากท้องหลังไตรมาสแรก ยังสามารถตรวจกรองดาวน์ซินโดรมได้สูงถึง 81% โดยการตรวจเลือดแม่ในช่วงอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์ 

การตรวจทั้ง 3 วิธี ข้างต้น แม้ว่าผลการตรวจจะปกติ ไม่สามารถยืนยันว่าลูกจะไม่เป็นทารกดาวน์ซินโดรมแน่ๆ แต่สามารถกบอกว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดอาการดาวน์ซินโดรม

 

 

ควรตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเตรียมรับมือหากทารกมีอาการดาวน์ซินโดรม ปัจจุบันมีวิธีอัลตราซาวด์ ร่วมกับเจาะเลือดคุณแม่ ไม่เสี่ยงต่อครรภ์ 

 

ประโยชน์ในการทำอัลตร้าซาวด์แต่ละช่วงอายุครรภ์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/639