โรคอ้วนในเด็ก | โรงพยาบาลรามคำแหง

March 25 / 2024

 

โรคอ้วนในเด็ก

 

 

 

เด็กอ้วนสำคัญอย่างไร ? 

 

 

 

คำแนะนำเพื่อป้องกันวงจรของโรคอ้วน 

 

  1. สตรีที่มีน้ำหนักมากควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์เพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้นมากในระหว่างตั้งครรภ์
  2. ทารกควรได้รับนมมารดาจนถึงอายุ 6 เดือน เป็นอย่างน้อย ทารกที่กินนมผสมมีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูงกว่าทารกที่กินมแม่ถึง 2 เท่า
  3. ทารกควรได้รับอาหารเสริมหลังอายุ 4-6 เดือน เพราะการเริ่มอาหารเสริมก่อน 4 เดือน มีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้มากกว่า
  4. เมื่อพบว่าทารกเริ่มมีน้ำหนักขึ้นเร็ว ไม่เป็นสัดส่วนกับความสูง ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากทารกที่มีน้ำหนักเกินใน 2 ขวบปีแรกจะมีเนื้อเยื่อไขมันสะสมมากทำให้อ้วนง่าย
  5. ที่อายุ 5 ปี เด็กควรมีสัดส่วนที่พอดี เนื่องจากหลังจากนี้ร่างกายจะสะสมไขมันในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ หากมีไขมันเกินที่อายุ 5 ปีจะทำให้อ้วนง่าย
  6. ถ้าภาวะน้ำหนักเกินล่วงเลยมาจนถึงวัยรุ่นแล้ว การลดน้ำหนักจะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งครอบครัว และต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันให้มีความสมดุลย์ระหว่างพลังงานที่ได้รับจากอาหารและพลังงานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการป้องกันได้ผลดีกว่ามาก เพราะการลดน้ำหนักมักทำได้ชั่วคราว 80-90% ของผู้ที่ลดน้ำหนักได้ มักจะกลับไปมีน้ำหนักเท่าเดิมอีกในเวลาต่อมา

 

 

 

ผู้ที่ควรจะได้รับการดูแลโดยคลินิกโรคอ้วนคือ ? 

 

  1. เด็กทุกคนที่น้ำหนักขึ้นเร็ว ไม่เป็นสัดส่วนกับความสูง (ideal weight for height > 120 %) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี
  2. เด็กที่น้ำหนักเกินที่มีมารดาน้ำหนักเกินจนถึงเกณฑ์อ้วนคือ BMI > 30 (BMI = น้ำหนัก (กก.)/ความสูง (ม.)2)
  3. เด็กที่มีสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่น้ำหนักเกิน
  4. เด็กที่มีน้ำหนักเกิน และมีบิดา มารดาป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตั้งแต่อายุยังไม่มาก (บิดาเป็นที่อายุน้อยกว่า 55 ปี มารดาเป็นที่อายุน้อยกว่า 65 ปี) หรือบิดา มารดาป่วยเป็น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
  5. เด็กที่อ้วนมากจนอยู่ในขั้นอันตราย
  6. เด็กที่มีโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วน ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทางเดินหายใจอุดกั้นทำให้นอนกรน นอนหายใจสะดุด เจ็บสะโพก ขาโก่ง ซึมเศร้า และประจำเดือนผิดปกติในเด็กผู้หญิง

 

 

 

การเข้ารับการตรวจที่คลินิกโรคอ้วน 

 

  1. โทรนัดเวลาที่ OPD เด็ก
  2. มารดา หรือผู้ที่ดูแลใกล้ชิดควรมาพร้อมกับเด็กเพื่อได้รับคำแนะนำโดยตรงจากแพทย์
  3. จดบันทึกอาหารทุกอย่างที่รับประทานโดยบอกปริมาณเป็นช้อนโต๊ะ เป็นเวลา 5-7 วันก่อนพบแพทย์ เนื่องจากการควบคุมน้ำหนักในเด็ก จะต้องคำนึงร่างกายที่ยังต้องเจริญเติบโต จึงจำเป็นต้อได้ปริมาณโปรตีนและแร่ธาตุที่เพียงพอด้วย

 

 

การตรวจในคลินิกโรคอ้วน 

 

เมื่อแพทย์ได้ซักประวัติ ตรวจร่างกายแล้ว จะมีการตรวจอื่นๆดังนี้

  1. การวัด Body composition เพื่อดูปริมาณกล้ามเนื้อและไขมัน ก่อนการตรวจด้วยเครื่องนี้ นำมาคำนวณหามวลกล้ามเนื้อและปริมาณไขมัน ถ้าอยู่ในสภาวะน้ำขาดหรือเกิน การคำนวณอาจผิดพลาด การควบคุมน้ำหนักที่ดีควรให้ร่างกายไม่เสียมวลกล้ามเนื้อไปแม้จะลดปริมาณอาหารลง
  2. การตรวจเลือดเพื่อดูวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตตามความจำเป็นโดยดูจากอาหารที่รับประทานและจากการตรวจร่างกาย
  3. กรณีที่มีอาการแทรกซ้อนจากโรคอ้วนดังได้กล่าวไปแล้ว อาจต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางตามความจำเป็นต่อไป

 

 

เป้าหมายของการควบคุมน้ำหนัก 

 

  1. กรณีอ้วนไม่รุนแรง การคุมน้ำหนักมีเป้าหมายเพียงรักษาน้ำหนักให้คงที่ โดยให้ปริมาณไขมันลดลง และปริมาณกล้ามเนื้อและกระดูกมากขึ้นจนเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะใช้เวลา 1-2 ปี
  2. กรณีอ้วนรุนแรงหรือมีโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วน จะต้องลดน้ำหนักลง 10 % ในเวลา 1 ปีสำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปี

 

 

ความสำเร็จของการควบคุมน้ำหนักขึ้นกับ 

 

  1. ความร่วมมือของทุกคนในครอบครัว
  2. สิ่งแวดล้อม
  3. กรรมพันธุ์

 

 

เอกสารอ้างอิง 

 

  1. สุนทรี รัตนชูเอกและคณะ ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก ฉบับแก้ไขครั้งที่ 2 วันที่ 22 พ.ค. 2577
  2. American Academy of Pediatrics. Pediatric Nutrition 7th edition, 2014;chapter 34.
  3. Ross AC et al. Modern Nutrition in Health and Disease 11th edition,2014;chapter 48,58,65.

 

 

การลดน้ำหนักจะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งครอบครัว และต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันให้มีความสมดุลย์ระหว่างพลังงานที่ได้รับจากอาหารและพลังงานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

พญ.แพรวพรรณ หงษ์วิศิษฐกุล

กุมารแพทย์สาขาโภชนาการเด็ก