พญ. ตวงพร ตุรงค์สมบูรณ์
กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ
การรับวัคซีนของเด็กวัยแรกเกิดไปจนถึงอายุ 12 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรละเลยเพราะเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กเพื่อป้องกันโรคร้ายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งวัคซีนในแต่ละชนิดนั้นสร้างมาจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกทำให้สิ้นฤทธิ์ด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์จนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้แล้ว ซึ่งวัคซีนเหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ
เด็กตั้งแต่แรกเกิดโดยเฉพาะช่วงอายุต่ำกว่า 1 ปีนั้นจะยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดีพอจะต่อต้านเชื้อโรคต่าง ๆ หากได้รับเชื้อโรคอันตรายก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต กา่รรับวัคซีนจึงมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงโดยเฉพาะกับเด็ก ไม่เพียงขัดขวางการแพร่ระบาดและลดผลกระทบที่ร้ายแรงของโรคติดต่อ ในบางกรณีอาจกําจัดโรคได้
สาเหตุที่เด็กเป็นไข้หลังรับวัคซีนนั่นเพราะเมื่อวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเริ่มจัดการเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการตัวร้อนหรือมีไข้ขึ้น แต่หลังจากที่ระบบภูมิคุ้มกันของเราจัดการกับวัคซีนทั้งหมดแล้ว อุณหภูมิของร่างกายก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติเอง
มักเกิดจากวัคซีนป้องกันวัณโรค หรือ บีซีจี (BCG) ที่รับบริเวณต้นแขนซ้าย ตุ่มหนองมักจะเกิดขึ้นหลังรับวัคซีน ไปแล้วประมาณ 3-4 สัปดาห์ และจะพองๆ ยุบๆอยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะหายไปเองบางครั้งตุ่มหนองอาจแตกได้ ต้องระวังรักษาความสะอาดอย่าให้ตุ่มหนองเกิดการติดเชื้อโดยการเช็ดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาดและแห้งเสมอด้วยน้ำต้มสุก ตุ่มจะค่อยๆแห้งลงและตกสะเก็ด ถ้าพบว่าต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงที่รับวัคซีนบีซีจี อักเสบโตขึ้นหรือเป็นฝีให้มาพบแพทย์เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม
เด็กอาจจะร้องกวนงอแงได้ ถ้ามีอาการปวดบวมให้ใช้เจลเย็นหรือผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่ปวดให้ทำทันที และรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตตามอลร่วมด้วยตามคำสั่งแพทย์จะช่วยบรรเทาอาการได้หลัง 24 ชั่วโมง แล้วถ้าอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นให้มาปรึกษาแพทย์
มักเกิดในวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ผู้ปกครองควรเช็ดตัวเด็กด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆ พักผ้าตามซอกคอ ข้อพับต่างๆ และอาจให้รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ร่วมด้วย แต่ถ้ามีอาการไข้เกิน 2 วัน ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำ
อาการไอ น้ำมูก หรือผื่น อาจพบหลังรับวัคซีนในกลุ่มของวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน ไปแล้วประมาณ 5 วัน โดยมากอาการจะไม่รุนแรง แต่ถ้าเด็กมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ซึม ไม่เล่น เพลียมาก ไม่ค่อยดูดนมหรือไม่รับประทานอาหาร ควรพามาพบแพทย์
สาเหตุของการชักมักไม่ได้เกิดจากผลของวัคซีนโดยตรง แต่มักจะเกิดจากการที่มีไข้สูงหลังรับวัคซีน วิธีป้องกันคือหลังจากรับวัคซีนแล้วผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีไข้ต้องเช็ดตัวลดไข้/รับประทานยา อย่าปล่อยให้ไข้สูงเพราะจะทำให้เกิดอาการชักได้
อ่านเพิ่มเติม: วัคซีนที่พ่อแม่มักจะลืม แต่สำคัญ
การรับวัคซีนของเด็กวัยแรกเกิดไปจนถึงอายุ 12 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรละเลยเพราะเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็ก เพื่อป้องกันโรคร้ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
แก้ไข
17/03/2565
กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ