ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (pelvic organ prolapse)

February 27 / 2024

 

ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (Pelvic organ prolapse)

 

ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนหรือ กล้ามเนื้อกระบังลมหย่อน คือภาวะที่ผนังช่องคลอดหรือมดลูก มีการเคลื่อนลงจากตำแหน่งเดิมซึ่งพบมากมากขึ้นในหญิงวัยสูงอายุ โดยสาเหตุนั้นเกิดจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่ลดลง

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน


1.จำนวนการคลอดบุตรทางช่องคลอด หรือการใช้สูติศาสตร์หัตถการในการช่วยคลอด เช่นคลอดด้วยคีมหรือเครื่องดูดสูญญากาศ
2.ภาวะท้องผูกเรื้อรัง
3.อาการไอเรื้อรัง
4.การยกของหนัก
5.น้ำหนักตัวที่มาก

 

 

 

อาการที่คนไข้มักมากพบแพทย์


คนไข้ส่วนใหญ่ที่มีปัญหาภาวะนี้มักไม่มีอาการ แต่อาการที่พบส่วนใหญ่คือ
1. รู้สึกมีก้อนตุงที่ช่องคลอดและจะรู้สึกตุงมากขึ้นเมื่อไอ จามหรือเบ่ง
2. ปัสสาวะไม่ออก ซึ่งเป็นเนื่องจากมีการเปลี่ยนทิศของท่อปัสสาวะ
3. หากมีภาวะที่หย่อนมากจนมดลูกหรือผนังช่องคลอดพ้นออกมาภายนอกจะทำให้เกิดตกขาวที่ผิดปกติ

 

ความรุนแรงของโรคภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนแบ่งเป็น 4 ระยะ


1. ระยะ 0 คือ ไม่พบการหย่อนของอวัยวะอุ้งเชิงกราน
2. ระยะ I คือ มีอวัยวะหย่อนจากตำแหน่งเดิม แต่อยู่เหนือเยื่อพรมจารีมากกว่า 1 เซนติเมตร
3. ระยะ II คือ มีอวัยวะหย่อนจากตำแหน่งเดิม และอยู่เหนือเยื่อพรมจารีน้อยกว่า 1 เซนติเมตร
4. ระยะ III คือ มีอวัยวะหย่อนจากตำแหน่งเดิม และอยู่ต่ำกว่าเยื่อพรมจารีมากกว่า 1 เซนติเมตร
5. ระยะ IV คือ มีอวัยวะหย่อนทั้งหมดหย่อนจนพ้นเยื่อพรมจารีมาทั้งหมด

 

 

แนวทางการรักษา 


1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก, งดยกของหนัก, รักษาภาวะท้องผูก หรือไอเรื้อรัง และงดสูบบุหรี่
2.บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแบบคีเกล (Kegel exercise) คือการฝึกขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ โดยขมิบค้างครั้งละ 5-10 วินาทีแล้วปล่อยกล้ามเนื้อ โดยทำต่อเนื่องทั้งหมด 45-60 ครั้งต่อวัน แบ่งเป็น 2-3 เซ็ต
3. ห่วงพยุงทางช่องคลอด (Vaginal pessaries) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใส่ไปทางช่องคลอดเพื่อช่วยพยุงอวยัวะอุ้งเชิงกรานที่หย่อนลงมา โดยได้ผลการรักษาที่ดีในคนไข้ส่วนมากและสามารถรักษาได้ทุกระยะของโรค โดยแพทย์จะเป็นผู้เลือกขนาดของห่วงที่เหมาะสมแก่คนไข้แต่ละราย
4. ผ่าตัด เช่น ผ่าตัดมดลูกและซ่อมแซมผนังช่องคลอดทางด้านหน้าและหลัง เป็นต้น

 

นัดพบแพทย์

พญ.นันท์นภัส ปโรสิยานนท์

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์