ขาดไอโอดีน เสี่ยงเป็นโรคคอพอกจริงหรือ?

February 06 / 2025

 

 

 

ขาดไอโอดีน เสี่ยงเป็นโรคคอพอกจริงหรือ?

 

 

     คอพอก (Goiter) คือ โรคที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้นผิดปกติจนสามารถมองเห็นหรือคลำพบซึ่งอาจโตขึ้นตลอดทั่วทั้งต่อมหรือเพียงกลีบใดกลีบหนึ่ง หรือเห็นเป็นก้อนเนื้อก้อนเดียว หรือเห็นเป็นก้อนเนื้อตะปุ๋มตะป่ำ ทั้งนี้เกิดโดยที่การทำงานของต่อมไทรอยด์อาจ ปกติ สูงกว่าปกติหรือต่ำกว่าปกติ

 

สาเหตุของโรคคอพอก

1.  ขาดธาตุไอโอดีน

     การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนต่ำกว่าความต้องการของร่างกายเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคคอพอก เนื่องจากเมื่อร่างกายต้องการธาตุนี้มากกว่าปกติเพื่อไปสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน เช่น วัยรุ่น หญิงมีครรภ์และแม่ลูกอ่อน ร่างกายเลยกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นโรงงานผลิตฮอร์โมนตัวนี้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

 

2.  การใช้ยาพวกแอนตี้ไทรอยด์ (Antithyroid)

     การใช้ยากลุ่มแอนตี้ไทรอยด์ เช่น อะมิโน ไทอะโซลหรือยาไทโอ ไซยะเนต ซึ่งเป็นยารักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ยาไทโอไซยะเนตนี้จะไปกันไม่ให้ต่อมไทรอยด์รวมไอโอดิน ไอออน ต่อมไทรอยด์จึงทำงานน้อยลง ทำให้ผลิตสารไทรอกซินน้อยลงด้วย แต่ร่างกายต้องการใช้ไทรอยด์ฮอร์โมนจึงกระตุ้นให้ต่อมใหญ่ขึ้น

 

3.  ร่างกายได้รับสารกอยโตเจน (Goitrogen)

     ร่างกายสามารถได้รับสารกอยโตเจนจากพืชในตระกูลเดียวกับกะหล่ำปลีที่รับประทานเข้าไปสด ๆ อย่างไรก็ตาม หากต้มให้สุกก็สามารถทำลายสารดังกล่าวได้ พืชในตระกูลเดียวกับกะหล่ำปลี เช่น กะหล่ำปลี ผักกาด ขึ้นฉ่าย หัวผักกาด แครอท ซึ่งต้องรับประทานเข้าไปในร่างกายในปริมาณที่มากและเป็นเวลานานจึงจะมีปัญหา

 

 

 

คอพอกคอพอกคอพอก

 

 

อาการของโรคคอพอก

อาการของคอพอกที่เด่นชัด คือ ต่อมไทรอยด์โตขึ้นจนทำให้ลำคอบริเวณคอหอยบวม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการบวมเพียงเล็กน้อยและไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีคอพอกขั้นรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย

 

  • ไอ รู้สึกแน่นภายในลำคอ
  • เสียงเปลี่ยนไปจากปกติ เสียงแหบ
  • กลืนอาหารลำบาก
  • หายใจลำบาก หายใจเสียงดังหวีด

 

การรักษาโรคคอพอก

วิธีรักษาคอพอกขึ้นอยู่กับขนาดของต่อมไทรอยด์ อาการ ความรุนแรงของโรค และภาวะแทรกซ้อนที่พบ หากต่อมไทรอยด์บวมโตไม่มากและยังทำงานได้เป็นปกติ แพทย์อาจนัดติดตามอาการเป็นระยะ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้รับการรักษา ดังนี้

 

1.  การรับประทานยาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ

    แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยโรคคอพอกจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือภาวะไฮโปไทรอยด์รับประทานยาที่ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเป็นปกติ ส่วนผู้ป่วยไทรอยด์อักเสบอาจให้รับประทานยาต้านอักเสบ เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาระงับการอักเสบ เป็นต้น

 

2.  การผ่าตัด

     หากต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่มากจนส่งผลกระทบต่อการหายใจหรือการกลืนอาหาร แพทย์อาจตัดเนื้อเยื่อบางส่วนหรือต่อมไทรอยด์ทั้งหมด และอาจใช้วิธีนี้รักษาผู้ป่วยที่มีก้อนเดี่ยวในต่อมไทรอยด์แบบมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้เช่นกัน

 

3.  การกลืนสารไอโอดีนกัมมันตรังสี

     วิธีนี้มักใช้รักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ โดยสารที่ผู้ป่วยกลืนเข้าไปจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและเคลื่อนเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้เซลล์บางส่วนถูกทำลาย และต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลง ทว่าอาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดภาวะไฮโปไทรอยด์ในภายหลังได้

 

 

คอพอกคอพอก

 

 

โรคคอพอก ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน ที่เป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกา

 

 

แก้ไข

01/03/65