ใช้ท่าเดิมซ้ำๆ เสี่ยงเกิดนิ้วล็อค

February 23 / 2024

 

 

ใช้ท่าเดิมซ้ำๆ เสี่ยงเกิดนิ้วล็อค

 

 

นิ้วล็อค (Trigger Finger) การที่นิ้วมือเกิดอาการปวดขยับนิ้วลำบาก มีเสียงดังกึกกักจนถึงนิ้วค้าง งอเหยียดไม่ออก ทำให้เกิดความเจ็บปวด ทรมาน และรบกวนชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

 

 

โรคนิ้วล็อคเกิดจากอะไร

 

นิ้วล็อค เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ ทำให้เส้นเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นมีการหนาตัวขึ้นเป็นพังผืด ขาดความยืดหยุ่นและเส้นเอ็นเคลื่อนผ่านไม่สะดวก สาเหตุเกิดจากการใช้งานมือซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานๆ เช่น แม่บ้านที่ทำงานบ้าน หิ้วของหนักๆ ช่างทำผม คนสวนที่ใช้งานมือมากๆ คนทำงานหรือคนเล่นเกมส์ที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา

 

 

 

อาการของนิ้วล็อค

 

นิ้วล็อคส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับนิ้วโป้ง นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง ทั้งนี้ อาจเกิดขึ้นกับหลายๆ นิ้วได้ในเวลาเดียวกัน หรืออาจเกิดขึ้นได้กับนิ้วมือทั้ง 2 ข้างด้วย อาการนิ้วล็อคมีดังนี้

  1. ปวดโคนนิ้วฝั่งฝ่ามือ
  2. เวลางอเหยียดนิ้วจะมีเสียงดังกึกกัง มีอาการปวดร่วมด้วย
  3. เวลางอนิ้วสุดๆ นิ้วจะเกิดอาการค้าง เหยียดออกเองไม่ได้ต้องใช้มืออีกด้านช่วยเหยียดนิ้วออก
  4. นิ้วค้างตลอด อาจจะอยู่ในท่างอหรือเหยียดก็ได้

 

 

วิธีรักษาอาการนิ้วล็อค

 

วิธีรักษาอาการนิ้วล็อคนั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ดังนี้

  • พักมือจากการทำกิจกรรมที่ต้องใช้การกำมือแน่นหรือแบกน้ำหนักซ้ำๆ เป็นเวลานาน
  • ประคบร้อนหรือเย็น ผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคบางรายอาจใช้วิธีประคบเย็นที่ฝ่ามือ ซึ่งช่วยให้อาการนิ้วล็อคดีขึ้น นอกจากนี้การแช่น้ำอุ่นก็บรรเทาอาการให้ทุเลาลงโดยเฉพาะหากทำในช่วงเช้า
  • ใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว การใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว (Splinting) จะช่วยดามนิ้วให้ตรง ไม่งอหรือเหยียดเกินไป อีกทั้งช่วยให้นิ้วได้พัก
  • ออกกำลังกายยืดเส้น แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกายเบาๆ เพื่อช่วยให้นิ้วเคลื่อนที่ได้ปกติ
  • รักษาด้วยยา ใช้ยาทานต้านการอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ยาดังกล่าวไม่สามารถบรรเทาอาการบวมตรงปลอกหุ้มเอ็นนิ้วได้
  • ที่เกิดอาการนิ้วล็อครุนแรง หรือวิธีรักษาด้วยยาและการบำบัดใช้ไม่ได้ผล อาจต้องได้รับการรักษาด้วยการศัลยกรรมและกระบวนการทางการแพทย์วิธีอื่น เช่น การฉีดสารสเตียรอยด์ ซึ่งช่วยลดอาการบวมอักเสบของเอ็น และช่วยให้เอ็นนิ้วสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นหรือ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนิ้วล็อค โดยไม่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล

 

 

 

การป้องกันโรคนิ้วล็อค

 

  • ไม่หิ้วของหนักเช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ แต่หากจำเป็นควรมีผ้าขนหนูรอง และให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือหรือใช้วิธีอุ้มประคองหรือนำใส่รถลาก
  • ไม่ควรบิดผ้าแรงๆ เพราะจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นบวมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อคควรซักผ้าด้วยเครื่อง
  • หลีกเลี่ยงงานที่มีแรงสั่นสะเทือน หรือควบคุมเครื่องจักร เช่น ไขควง กรรไกรตัดกิ่งไม้ เลื่อย ค้อน ควรใส่ถุงมือหรือหุ้มด้ามจับให้นุ่มขึ้น
  • ควรหลีกเลี่ยงการยกของด้วยมือเปล่า และควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก
  • งานที่ต้องทำต่อเนื่องนานๆ ควรพักมือเป็นระยะ

 

นิ้วล็อคเกิดจากการใช้งานมือซ้ำๆ เป็นเวลานาน ทำให้เส้นเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นมีการหนาตัวขึ้นเป็นพังผืด ขาดความยืดหยุ่นและเส้นเอ็นเคลื่อนผ่านไม่สะดวก

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

นพ. สิริศักดิ์ บูรณวัฒนาโชค

ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

 

 

แก้ไข

03/03/65

 

 

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

ผ่าตัดเหมาจ่ายต้อกระจก

ต้อกระจกเกิดจากการขุ่นมัวของเลนส์แก้วตา สามารถรักษาให้มองเห็นได้ โดยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตา

ราคา 31,300-98,500 บาท

แพ็กเกจศูนย์หัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ แบบไม่ต้องผ่าตัด

ราคา 33,000-120,000 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Platinum Check up สำหรับกลุ่มสุภาพสตรี

แพ็กเกจตรวจสุขภาพ RAM Platinum รายละเอียด เช่น การตรวจหัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับการตรวจหาแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือด ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เป็นต้น

ราคา 30,990 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (High Dose Flu Vaccine For Elderly)

ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 24.2%

ราคา 2,400 บาท