จรุงไทย เดชเทวพร
ประสาทวิทยา
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การนอนกินเวลาถึง 1 ใน 3 ของชีวิตคนเรา แต่แปลกใจที่หลายคนไม่ค่อยให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของการนอน ที่จริงแล้วการนอนสำคัญกับชีวิตและสุขภาพของเรามาก นอกจากช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การนอนยังช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ซึ่งถ้าเราอดนอนหรือนอนไม่หลับนอกจากจะส่งผลต่อร่างกายแล้วยังส่งผลกระทบต่อสมองด้วยเช่นกัน
สมองจะจัดการกับความทรงจำขณะหลับ โดยโอนถ่ายความทรงจำระยะสั้นเข้าสู่สมองส่วนที่เก็บความทรงจำระยะยาว ทำให้เราจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี หากเราอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้สมองไม่สามารถรับความทรงจำใหม่ได้นอกจากนี้ยังทำให้ไม่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งรอบตัว
ปกติสมองจะกำจัดสารพิษตกค้างในสมองออกทุกคืนที่เรานอนหลับ และหนึ่งในสารพิษที่ถูกกำจัดออกไปนั้นก็คือ บีตา แอมีลอยด์ (Beta Amyloid) โปรตีนที่เป็นพิษต่อร่างกายและยังเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
จากผลการศึกษาพบว่าหากเรานอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันมากขึ้นถึง 4.5 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่นอนหลับ 7-8 ชั่วโมง เนื่องจากสมองไม่สามารถกำจัดของเสียที่ตกค้างได้หมด
ทุกเซลล์ในร่างกายทำงานตลอดเวลาขณะที่เราตื่น ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานอยู่ตลอด และหนึ่งในสารที่ร่างกายสร้างขึ้นขณะใช้พลังงานก็คือสารอะดีโนซีน (Adenosine) ยิ่งสมองสะสมสารอะดีโนซีนมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งง่วงมากขึ้นเท่านั้น และหากไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอแล้วอาจจะทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคอื่นๆ ตามมาได้อีกด้วย
แต่ถ้าใครที่หลับยาก นอนไม่ค่อยหลับจริง ๆ คุณอาจเป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับอยู่ก็เป็นได้ แนะนำให้พบแพทย์ตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาดีกว่า เพราะอาการนอนไม่หลับไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้นะครับ
แก้ไข
07/12/2566