ปัสสาวะแสบขัดมีเลือดปน ระวังนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

September 19 / 2022

 

ปัสสาวะแสบขัดมีเลือดปน ระวังนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

 

 

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เป็นหนึ่งในโรคนิ่วที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยจะพบเป็นก้อนของสารหรือแร่ธาตุที่ตกตะกอนหรือตกผลึก เกิดจากการที่มีปัสสาวะตกค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะมีขนาดเล็กมากๆ ไปจนถึงใหญ่กว่า 5 ซม. อาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อน และอาจมีลักษณะแข็งมาก ค่อนข้างแข็ง หรืออาจจะค่อนข้างนุ่มได้ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะเป็นโรคเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะได้บ่อยกว่า (Bladder outlet obstruction) ตะกอนนิ่วจึงมีโอกาสตกค้างได้มากกว่า

 

 

 

สาเหตุการเกิดโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ สามารถเกิดได้ 2 แบบ คือ

  • นิ่วจากไตหรือท่อไตที่หลุดลงมาสะสมเพิ่มขนาดในกระเพาะปัสสาวะ
  • นิ่วที่เกิดในกระเพาะปัสสาวะเอง ซึ่งเกิดจากการขับถ่ายปัสสาวะออกไม่หมด เช่น มีภาวะต่อมลูกหมากโตกีดขวางทางเดินปัสสาวะ ท่อปัสสาวะตีบตัน กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ ทำให้มีน้ำปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ นานวันเข้าก็จะเกิดการตกตะกอนแล้วค่อยๆ โตขึ้นเป็นก้อนนิ่วขึ้นมา

 

อาการของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

ผู้ป่วยมักไม่ค่อยมีอาการแสดง แพทย์มักตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการเอกซเรย์ช่องท้องจากโรคอื่น ๆ เช่น ปวดท้องหรือปวดหลัง ส่วนในรายที่แสดงอาการ จะมีอาการที่พบได้บ่อยคือ

  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง อาจร่วมกับปวดหลังเรื้อรัง
  • การปัสสาวะผิดปกติหรือมีอาการขัด (เนื่องจากก้อนนิ่วลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ) ทำให้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะลำบากปวดแสบปวดร้อน
  • ผู้ป่วยบางรายอาจปัสสาวะออกเป็นเลือดหรือมีสีน้ำล้างเนื้อ หรืออาจถ่ายปัสสาวะเป็นก้อนนิ่วหรือเม็ดกรวดทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขุ่นขาวเหมือนมีผงแป้งปนอยู่
  • หากก้อนนิ่วตกลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะไม่ออก และมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ทำให้มีอาการปวดท้องน้อย ปวดหลัง ปัสสาวะแสบปวดร้อน มีไข้

 

 

 

การรักษาโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

แนวทางในการรักษาโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ

  • การเอานิ่วออก ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก แพทย์อาจเริ่มจากการแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายขับนิ่วออกมาเองตามธรรมชาติ แต่โดยทั่วไปแล้วการเอานิ่วออกสามารถทำได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้ คือ
    • การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ (Cystolitholapaxy)
    • การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL)
    • การผ่าตัด
  • รักษาที่สาเหตุของโรค เนื่องจากการเอานิ่วออกเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุของการเกิดโรคอาจทำให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นนิ่วซ้ำได้อีก ซึ่งการรักษาที่สาเหตุนี้ยกตัวอย่าง เช่น
  • หากนิ่วเกิดจากการมีปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ แพทย์ต้องตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าการคั่งค้างนั้นเกิดจากอะไรแล้วทำการรักษาไปพร้อมกัน เช่น ผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้วิธีส่องกล้องในกรณีที่ เกิดจากต่อมลูกหมากโตหรือทำการขยายท่อปัสสาวะในกรณีที่มีการตีบตัน
  • หากนิ่วเกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ เช่น บีบตัวไม่ดี ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องสวนปัสสาวะทิ้งเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization)

 

แก้ไข

19/09/2565

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

ผ่าตัดเหมาจ่ายต้อกระจก

ต้อกระจกเกิดจากการขุ่นมัวของเลนส์แก้วตา สามารถรักษาให้มองเห็นได้ โดยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตา

ราคา 31,300-98,500 บาท

แพ็กเกจศูนย์หัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ แบบไม่ต้องผ่าตัด

ราคา 33,000-120,000 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Platinum Check up สำหรับกลุ่มสุภาพสตรี

แพ็กเกจตรวจสุขภาพ RAM Platinum รายละเอียด เช่น การตรวจหัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับการตรวจหาแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือด ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เป็นต้น

ราคา 30,990 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (High Dose Flu Vaccine For Elderly)

ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 24.2%

ราคา 2,400 บาท