s มะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้เร็วรักษาหายได้

มะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้เร็วรักษาหายได้

December 09 / 2022

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้เร็วรักษาหายได้

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่และลำไส้ที่มีการเปลี่ยนแปลงและแบ่งตัวอย่างต่อเนื่องจนไม่สามารถควบคุมได้ กลายเป็นก้อนหรือเนื้องอก ระยะแรกอาจเป็นเพียงแค่ติ่งเนื้องอกเล็กๆ เรียกว่า โพลิป (Polyp) แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาหรือตัดทิ้ง อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็ง ที่สามารถลุกลามทะลุผนังลำไส้จนแพร่กระจายต่อไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่

แม้ว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ เช่น

  • การได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องและทายาทสายตรง
  • การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • การรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและมีการตกค้างที่ลำไส้ มักพบสารพิษในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง อาหารหมักดอง สารเคมีจากผักที่ไม่สะอาด และเนื้อสัตว์แปรรูป
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือเนื้อสัตว์สีแดงปริมาณมาก
  • อายุ โดยส่วนใหญ่พบว่ากว่า 90% มักเกิดกับคนที่อายุมากกว่า 50 ขึ้นไป แต่ก็อาจพบได้ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น
  • ความอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น

 

 

 

อาการ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่แสดงอาการผิดปกติ จากการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรืออาจมีอาการนำมาก่อน เช่น

  • ท้องอืด ท้องผูกหรือท้องเสียสลับกับท้องผูก
  • มีเลือดปนมาในอุจจาระ มีเลือดออกทางทวารหนัก
  • อุจจาระมีขนาดเล็กหรือบางลง
  • อาการจุกเสียด แน่น หรือปวดท้องบ่อยๆ
  • ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาจคลำได้ก้อนในช่องท้องมักพบด้านขวาตอนล่าง
  • ปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้ายปวดอุจจาระตลอดเวลา

 

 

 

กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่             

  • คนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้น และไม่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำใส้ใหญ่
  • คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้เริ่มตรวจที่อายุของญาติเมื่อตอนเป็นมะเร็ง -10 ปี เช่น พ่อเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุ 45 ปี ลูกควรตรวจเมื่ออายุ 35 ปี เป็นต้น
  • หากผลการตรวจไม่พบความผิดปกติ แนะนำให้ทำการตรวจซ้ำทุก ๆ 5 ปี

 

 

ข้อดีของการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่          

  • สามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบในระยะแรก ๆ
  • ลดอัตราเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
  • ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้หากมีการตรวจพบติ่งเนื้อก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง

 

 

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ตรวจอุจจาระหาเลือดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Fecal Occult Blood Test) ปีละครั้ง
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ทุก 5 ถึง 10 ปี 
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายร่วมกับการตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ทุก 5 ปี
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยภาพเสมือนจริง (Computed tomography colonoscopy) ทุก 5 ปี ซึ่งปัจจุบันสามารถตรวจพบเนื้องอกที่มีขนาดมากกว่า 9 มม. ได้มากกว่าร้อยละ 90

 

 

ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยภาพเสมือนจริง สามารถตรวจพบเนื้องอกที่มีขนาดมากกว่า 9 มม. ได้มากกว่าร้อยละ 90

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

พญ.ถิรทัย เตรีกุล

อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

 

 

แก้ไข

18/08/2565