Heat stroke กับการออกกำลังกาย เกิดได้ต่อให้ไม่ใช่หน้าร้อน

December 14 / 2023

 

Heat stroke กับการออกกำลังกาย เกิดได้แม้ไม่ใช่หน้าร้อน

 

 

ปัจจุบันกระแสการดูแลสุขภาพกำลังมาแรง ผู้คนหันมาออกกำลังกายมากขึ้น โดยเฉพาะการวิ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่วงนี้ในบ้านเรามีการจัดงานวิ่งหลายงานตั้งแต่ วิ่งมาราธอน, มินิมาราธอนหรือการวิ่งระยะสั้นอย่างฟันรัน ให้นักวิ่งที่สนใจเลือกลงแข่งขันได้ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายตัวเอง การฝึกซ้อม ความฟิต

 

แม้ว่าการวิ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย แต่ถ้าเราไม่มีการเตรียมความพร้อมของร่างกายให้ดี ก็อาจเสี่ยงเกิดอันตรายขณะวิ่งได้ โดยอาการอันตรายที่เกิดจากการวิ่งมาราธอนที่เรามักพบเจอได้และอาจส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต นั่นก็คือ โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)

 

Heat Stroke เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 40 องศา และร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิลงได้ จนเป็นผลทำให้อวัยวะในร่างกายได้รับความเสียหาย และทำงานผิดปกติ บางครั้งอาจร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

 

การออกกำลังกายทำให้เกิด Heat Stroke ได้อย่างไร?

 

มีการรายงานถึงการเกิดภาวะ Heat Stroke ในฤดูกาลอื่นที่ไม่ใช่ฤดูร้อน เป็นผลมาจากความชื้นในอากาศที่สูงและไม่มีแรงลม ทำให้ไม่สามารถขับความร้อนและพัดพาความร้อนจากร่างกายไปได้ การออกกำลังกายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด Heat Stroke คือการออกกำลังกายที่นานกว่า 1 ชั่วโมง เช่น การวิ่งมาราธอน การเต้นแอโรบิก เป็นต้น

 

โดยอาการจะเริ่มจากลมแดด คือมีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกหน้ามืด เหงื่อออกน้อยหรืออาจไม่มีเหงื่อ จนมีอาการของฮีทสโตรกคือ หมดสติ ชักเกร็ง และอาจทำให้เสียชีวิตได้

 

 


การป้องกันการเกิด Heat Stroke
 

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • เลือกเสื้อผ้าที่บาง ระบายเหงื่อได้ดี และไม่ใส่เสื้อสีทึบ
  • การออกกำลังกายกลางแจ้งที่นาน ควรเข้าพักในที่ร่มๆ ทุก 2 ชั่วโมง หรือถ้ามีอาการของลมแดดควรหยุดออกกำลังกายทันที
  • ควรมีการซ้อมเพื่อปรับร่างกายประมาณ 5-7 วัน โดยเริ่มจากเวลาสั้นๆ ก่อน
  • งดทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ผู้ที่มีอาการลมแดดและ Heat Stroke ควรงดการออกกำลังกายหลังจากการรักษา 1-2 อาทิตย์

     


 

การเตรียมตัวก่อนไปวิ่งมาราธอน

 

สำหรับใครที่ไม่มีพื้นฐานการออกกำลังกายมาก่อนแล้วอยากลองวิ่งมาราธอน ต้องเริ่มจากการเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วยการซ้อมวิ่งก่อน โดยมือใหม่หัดวิ่งควรเริ่มต้นจากการวิ่งเบาๆ อย่างการวิ่งสลับเดิน ใช้เวลาสั้นๆ 30 นาทีต่อวัน วิ่งประมาณ 3-5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ การซ้อมวิ่งเบาๆ จะทำให้ร่างกายคุ้นชินกับการใช้พลังงานมากขึ้น หลังจากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาการซ้อมให้จริงจังมากขึ้น

 

 

นอกจากการเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วยการซ้อมวิ่งแล้ว การตรวจร่างกายก่อนวิ่งก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยการตรวจจะเน้นไปที่การประเมินความเสี่ยงการเกิดอันตรายในขณะวิ่ง เช่น การประเมินอัตราการใช้ออกซิเจน, ตรวจสอบอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ รวมถึงโรคที่มีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการวิ่งมาราธอนอย่าง เช่น โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, หอบหืด เป็นต้น

 

 

นอกจากการเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วยการซ้อมวิ่งแล้ว การตรวจร่างกายก่อนวิ่งก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยการตรวจจะเน้นไปที่การประเมินความเสี่ยงการเกิดอันตรายในขณะวิ่ง

 

 

แก้ไข

01/12/65

 

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (High Dose Flu Vaccine For Elderly)

ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 24.2%

ราคา 2,400 บาท

แพ็กเกจวัคซีนพื้นฐานวัคซีนตามเกณฑ์อายุตั้งแต่ 1 - 8 เดือน

เด็กน้อยอายุ 1 เดือน – 18 เดือน เสริมด้วยวัคซีน Rotarix เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

ราคา 11,000 บาท

แพ็กเกจวัคซีนเสริม Prevnar 13

พ่อแม่ยุคใหม่ สร้างเกราะป้องกันให้ลูกด้วย “วัคซีนป้องกันเชื้อไอพีดี”

ราคา 10,500 บาท

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

การฉีดวัคซีน HPV ไม่เพียงช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ

ราคา 8,000 บาท