พญ. จิตรา วงศ์วิวัฒนานนท์
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือกลุ่มอาการที่เกิดกับคนทำงานออฟฟิศ โดยความผิดปกติเกิดจากการอยู่ในท่าเดียวซ้ำ ๆ นานๆ จนกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บตามบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ ขมับ ต้นคอ สะบัก บ่าไหล่ โดยอาจมีจุดปวดตึง กดเจ็บ และอาจมีภาวะเวียนศีรษะหรือเหน็บชาร่วม
โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ การอยู่ในท่าเดียวซ้ำ ๆ นาน ๆ การนั่งในที่นั่งทำงานซึ่งไม่ถูกหลักสรีรศาสตร์ ดังนั้นการรักษาจึงต้องใช้หลากวิธีร่วมกัน เช่น
หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ PMS (Peripheral Magnetic Stimulation) ช่วยคลายอาการออฟฟิศซินโดรม โดยเครื่องจะส่งคลื่นแม่เหล็กคอยกระตุ้นเส้นประสาทและกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด
เทคโนโลยีกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้านี้ยังให้ผลดีกับผู้ป้วยจากอาการปวดเรื้อรังจากโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
โรคเหล่านี้หากไม่รุนแรงถึงขั้นผ่าตัด ถ้ารับประทานยาแล้ว ทำกายภาพบำบัดรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ดีขึ้น PMS ช่วยรักษาได้
อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่ยาวนานกว่า 3 เดือน อย่ามัวแต่หาซื้อยามาทานเองหรือเอาแต่รักษาด้วยการนวด ผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้อง บางคนอาจเป็นโรคไทรอยด์ โลหิตจาง ขาดวิตามินดี โรคแพ้ภูมิตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีอาการปวดเรื้อรังได้
การรักษาด้วย PMS เป็นการรักษาได้ผลดี อาการปวดของผู้ป่วยจะลดลงภายหลังการรักษาด้วย PMS ในแต่ละครั้ง โดยแพทย์จะรักษาต่อเนื่องหลายครั้งตามระดับความรุนแรงของโรค
นอกจากรักษาอาการปวดแล้ว PMS ยังรักษาอาการอ่อนแรงและลดอาการชา เช่น โรคกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หน้าเบี้ยว โรคทางระบบประสาทที่มีอาการแขนขาอ่อนแรง ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ เส้นประสาทถูกกดทับ ผังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท ปลายประสาทอักเสบ
การรักษาด้วย PMS ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการชักมาก่อน ผู้ป่วยที่มีโลหะรูปวงแหวนฝังอยู่ในตัว ผู้ป่วยที่มีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว เป็นต้น
โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นภาวะที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ทว่าความเจ็บปวดนี้เป็นลักษณะของความเจ็บปวดเรื้อรัง ทำให้รบกวนชีวิตประจำวัน และรบกวนการทำงาน
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู