ฟื้นฟูภาวะอัมพฤกษ์ - อัมพาตด้วยเทคโนโลยีเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง

February 04 / 2025

 

 

 

ฟื้นฟูภาวะอัมพฤกษ์ - อัมพาต

 

 

 

 

     โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาตต้องใช้การรักษาในโรงพยาบาลเป็นหลัก ได้แก่ การให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic therapy) การควบคุมความดัน การให้ยาต้านเกล็ดเลือด การรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) ซึ่งการรักษาที่กล่าวจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เช่น การให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งให้ได้เฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ ที่มีอาการมาภายใน 3-4.5 ชั่งโมงเท่านั้น

 

 

 

 

อัมพาต รักษาอัมพาต รักษา

 

 

 

ข้อจำกัดจากการรักษาภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาตแบบเดิม

     แม้ได้รับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันเต็มที่แล้ว ผู้ป่วยส่วนหนึ่งยังมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงและหดเกร็ง ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องการช่วยเหลือตัวเองร่วมการประกอบกิจวัตรประจำวัน จากการศึกษาพบว่าหลังทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูแล้ว 6 เดือน ก็ยังมีผู้ป่วยประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังไม่สามารถเดินเองได้

 

TMS ช่วยรักษาภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาต ได้อย่างไร

     ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (Transcranial Magnetic Stimulation) ซึ่งช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งชนิดหลอดเลือดสมองตีบและแตก ทั้งยังช่วยคลายปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือหดเกร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูและลดอาการเกร็งของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

 

 

การรักษาจะต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ประมาณ 5-10 ครั้งขึ้นไปถึงจะเห็นผล

 

 

หลักการทำงานของ TMS

     กระบวนการทำงานเริ่มต้นด้วยการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นสมอง โดยทำได้ด้วยการกระตุ้นสมองข้างที่มีปัญหา หรือยับยั้งสมองฝั่งตรงข้ามเพื่อปรับสมดุล ซึ่งช่วยเร่งการเชื่อมต่อกันใหม่ของเซลล์ประสาท เพื่อให้เกิดการฟื้นฟู ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและเคลื่อนไหวได้ดียิ่งขึ้น

 

 

 

อัมพาต รักษาอัมพาต รักษา

 

 

 

TMS ทำให้เจ็บหรือไม่ ?

     วีธีการทำเป็นเพียงการนำหัวส่งสัญญาณแม่เหล็กมาวางที่ศีรษะหรือแขนขาเท่านั้น โดยกล้ามเนื้ออาจกระตุกขณะทำบ้าง แต่ไม่สร้างความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด และสามารถมาทำเป็นครั้ง ๆ โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

 

ข้อควรระวังเรื่องการทำ TMS

ถึงแม้การใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (Transcranial Magnetic Stimulation) จะมีความปลอดภัยมากและผลข้างเคียงต่ำ แต่ก็จะไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วย

 

  • มีอาการชักมาก่อน
  • มีโลหะฝังอยู่ในสมอง เช่น คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น
  • ฝังอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น