เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
หัวใจ ถือเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายแบบไม่มีวันหยุด และยังเป็นอวัยวะที่มีความพิเศษ สามารถสร้างและส่งกระแสไฟฟ้าได้เอง โดยทั่วไปอัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อใดก็ตามที่ระบบไฟฟ้าเกิดความผิดปกติ ก็มักเป็นสาเหตุให้หัวใจเต้นผิดจังหวะตามไปด้วย ซึ่งอาจช้าลงหรือเร็วขึ้นกว่าเดิม ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย และหายใจไม่ทั่วท้อง สัญญาณผิดปกติที่เกิดขึ้นต่อหัวใจ ที่ศูนย์หัวใจรามคำแหงพบ มักมีสาเหตุมาจากปัจจัยที่หลากหลาย โดยหนึ่งในปัจจัยที่พบได้บ่อยคือความเครียด ซึ่งมักส่งผลให้เกิดความแปรปรวนในระบบประสาทอัตโนมัติ และกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชั่วคราว แต่ในบางกรณีที่มีความรุนแรง อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว ซึ่งทั้ง 2 โรคมีความแตกต่างอย่างชัดเจน คือ สาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะและลิ้นหัวใจรั่ว เริ่มที่ ‘โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ’ คือ ความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งอาจเต้นช้าไป เร็วไป หรือไม่เป็นจังหวะ มักเกิดจากความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่กำเนิด การติดเชื้อ ภาวะขาดออกซิเจน โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือการใช้ยาบางชนิด
ในขณะเดียวกัน ‘โรคลิ้นหัวใจรั่ว’ คือความผิดปกติของโครงสร้างของลิ้นหัวใจที่ไม่สามารถปิดสนิทได้ ส่งผลให้เลือดไหลย้อนกลับ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความบกพร่องตั้งแต่กำเนิด การติดเชื้อ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
อาการเบื้องต้นของร่างกายที่เกิดจากความเครียดและโรคหัวใจมักมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยพบสัญญาณเตือนจากร่างกายในระยะแรก จึงควรเข้ารับการตรวจประเมินการทำงานของหัวใจตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที ถือเป็นการป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
หัวใจที่มีภาวะผิดปกติ จะทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก รู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด และเป็นลมหมดสติได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อาการเหล่านี้มักสร้างความกังวลให้แก่ผู้ป่วย โดยอาการเบื้องต้นของความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจมักคล้ายกับโรคเครียด จึงทำให้บางครั้ง หากแพทย์วินิจฉัยอย่างไม่ละเอียด ก็จะทำให้อาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น และยิ่งสะสมทำให้โรคมีอาการรุนแรง
แม้อาการเบื้องต้นอาจมีความคล้ายคลึงกัน แต่สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ดังต่อไปนี้
เมื่อสังเกตพบว่าตนเองรู้สึกเจ็บหน้าอก มีอาการจุกแน่น เหมือนมีอะไรมากดทับบริเวณหน้าอก หรือปวดร้าวไปยังบริเวณแขน โดยเฉพาะเมื่อมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอร่วมด้วย ควรรีบเข้าพบแพทย์ศูนย์หัวใจเพื่อรับการวินิจฉัยโดยด่วน
แพ็กเกจตรวจหาความเสี่ยงโรคหัวใจของศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง มีให้เลือกหลากหลายแพ็กเกจดังนี้