นพ. สิริศักดิ์ บูรณวัฒนาโชค
ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ส่องกล้องข้อไหล่และข้อเข่า
เนื่องด้วยอายุที่มากขึ้น ข้อเข่าก็เริ่มเสื่อมไปตามกาลเวลา การผ่าตัดจึงเป็นหนทางแก้เมื่อผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล แม้กระนั้นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าก็ยังหนึ่งการรักษาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในปัจจุบัน นอกจากลดอาการปวด ยังมอบคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นหลังจากรักษา
ข้อเข่าประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ กระดูกส่วนต้นขา (Thigh bone หรือ Femur) กระดูกส่วนหน้าแข้ง (Shin bone หรือ Tibia ) เมื่อคนไข้งอเข่าหรือยืดเข่า ส่วนที่มนตรงปลายสุดของกระดูกต้นขาจะหมุนอยู่บนกระดูกส่วนหน้าแข้ง กระดูกส่วนที่ 3 เรียกว่า กระดูกลูกสะบ้า (patella) ซึ่งจะติดกับกล้ามเนื้อด้านหน้าของเข่าซึ่งช่วยให้เคลื่อนไหวและลดการเอียงหรือบิดของกล้ามเนื้อ
อ่านเพิ่มเติม: โรคข้อเข่าเสื่อม รวบสาเหตุ-อาการเมื่อปวดเข่า
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee Arthroplasty) เป็นหนึ่งการรักษาข้อเข่าเสื่อมที่มีประสิทธิภาพและให้ผลดีในปัจจุบัน โดยแพทย์จะเริ่มใช้เครื่องมือแพทย์ตรวจวัดและตัดกระดูกส่วนที่เสื่อมออกเป็น 3 ส่วน ก่อนนำโลหะที่มีแผ่นพลาสติก (Polyethylene) ซึ่งมีรูปร่างทรงมนและรองรับน้ำหนักได้ดีใส่แทนที่พื้นผิวกระดูกส่วนบน เพื่อปรับสมดุลและโครงสร้างของกระดูกให้เป็นธรรมชาติ
เมื่อใดที่เกิดอาการปวดหรือบาดเจ็บตามข้อ ก็เป็นสัญญาณหนึ่งที่ควรพบแพทย์ด้านกระดูก ซึ่งมีขั้นตอนตรวจวินิจฉัยดังนี้
โดยทั่วไปภาวะแทรกซ้อนจะรวมถึงการติดเชื้อ ภาวะเลือดจับตัวเป็นก้อน ปอดอักเสบ ข้อเทียมเกิดความหลวมหรือเส้นประสาทอักเสบ ซึ่งควรเข้าพบแพทย์ชำนาญเพื่อเฝ้าอาการเป็นระยะ
อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมจะแตกต่างตามลักษณะของผู้ป่วยในหลายปัจจัย เช่น ลักษณะร่างกายของผู้ป่วย ระดับกิจกรรม น้ำหนักตัวและความถูกต้องแม่นยำของการผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ซึ่งช่วยลดอาการปวดและมอบการใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้นหลังการผ่าตัด
ผู้ป่วยจะได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อเสริมสมดุลการทรงตัวและการเคลื่นไหวข้อเข่าให้ดียิ่งขึ้นภายใต้การดูแลของผู้ชำนาญการด้านกายภาพบำบัดตามความเหมาะสม
หลังจากการผ่าตัด 6 อาทิตย์ ผู้ป่วยจะสามารถเดินได้โดยใช้ไม้เท้าช่วย คนไข้ในบางคนอาจจะสามารถขับรถได้หลังจากผ่าตัดประมาณ 7-8 สัปดาห์ โดยส่วนมากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสามารถทำให้คนไข้กลับมาทำกิจกรรมประจำวันได้เหมือนเดิม
ผู้ป่วยควรฝึกบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและฝึกการเหยียดงอข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ โดยทั่วไปการเหยียดงอข้อเข่ามักเปลี่ยนแปลงได้มากในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาที่ควรฝึกบริหารอย่างเต็มที่และควรงอข้อเข่าได้อย่างน้อย 100 องศา ซึ่งอาจรู้สึกตึงและปวดข้อเข่าบ้างขณะพยายามงอข้อเข่า แต่พบว่าเมื่อผู้ป่วยปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอแล้ว อาการปวดและตึงมักน้อยลงจนหายไป ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินว่าได้ผลการรักษาดี คือ เดินแล้วไม่มีอาการปวดเหมือนก่อนการผ่าตัด มีแนวของขาข้างที่ผ่าตัดอยู่ในแนวที่ดี เหยียดได้สุดหรือเกือบสุดและงอข้อเข่าได้ประมาณ 100 องศาขึ้นไป
โดยทั่วไปประมาณ 6 เดือน ข้อเทียมจะมีความแข็งแรงเสมือนว่าเป็นข้อเข่าของผู้ป่วยเอง จึงไม่จำเป็นต้องกังวลว่าข้อจะหลุดออกมา ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้ ขึ้นลงบันไดได้ สามารถออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว รำมวยจีน ว่ายน้ำ ตีกอล์ฟ อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักอย่างการวิ่งเร็ว การกระโดดอย่างต่อเนื่องและการเล่นกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น เทนนิส การนั่งที่เหมาะสม ควรนั่งบนเก้าอี้ มีผู้ป่วยบางรายเท่านั้นที่สามารถนั่งยองๆ หรือขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบได้
แก้ไข
18/5/2566
ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ส่องกล้องข้อไหล่และข้อเข่า