เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
รู้หรือไม่ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกายเพียงเล็กน้อย ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติในระบบอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแล ก็อาจนำมาซึ่งโรคร้ายแรง กว่าจะรู้ก็สายเกินแก้ ดังนั้นในยุคที่เต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกให้เกิดโรค การเข้ารับการตรวจสุขภาพจึงถือเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ ซึ่งนอกจากจะเป็นการป้องกันการเกิดโรคในระยะยาวแล้ว หากตรวจพบโรคตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ก็สามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ทำให้มีโอกาสหายขาดได้มากกว่าปล่อยทิ้งไว้นั่นเอง
สำรวจ 10 อาการ สัญญาณร่างกายเริ่มทรุดโทรม และควรรีบเข้ารับการตรวจสุขภาพมีอะไรบ้าง
อาการอ่อนล้า รู้สึกไม่สบายตัว หมดเรี่ยวแรง หรือหลับไม่สนิท อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง ซึ่งร่างกายต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ โดยสาเหตุอาจเกิดจากการทำกิจกรรมบางประเภทอย่างหักโหม หรือเกิดจากการติดเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ฮอร์โมนในร่างกายขาดความสมดุล รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต
อาการนอนไม่หลับ การนอนหลับไม่สนิท การหลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืน การตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น การง่วงซึมหรือความเหนื่อยล้าระหว่างวันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อาการนอนไม่หลับเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายและเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการนอนไม่หลับมากกว่า 2 สัปดาห์ อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของการทำงานที่ปกติของไทรอยด์ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อประเมินอาการเพิ่มเติม
ความไม่รู้สึกอยากอาหารหรือความต้องการรับประทานอาหารลดลง อาจเกิดได้จากสาเหตุทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงภาวะเบื่ออาหารจากการใช้ยาบางประเภท โดยผู้ที่เบื่ออาหารมักมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลด ภาวะขาดสารอาหาร ในบางรายอาจพบว่าลิ้นเริ่มรับรสชาติได้ไม่เหมือนเดิม
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่าง ๆ โดยไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัด อาจเป็นผลจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหลาย ๆ ตำแหน่งในเวลาเดียวกัน ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งหากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจไม่สามารถขยับร่างกาย หรือทำกิจกรรมได้ตามปกติ ควรตรวจสุขภาพเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน และทำการรักษาอย่างจริงจัง
การปวดศีรษะเรื้อรังหมายถึงลักษณะการปวดหัวที่มีอาการต่อเนื่องมากกว่า 15 วันต่อเดือน ติดต่อกันอย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด โรคไมเกรน โรคซึมเศร้าหรือการใช้ยาแก้ปวดไม่ถูกวิธี
ภาวะไอเรื้อรังคือการไอที่มีระยะเวลาติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือภาวะอื่น ๆ เช่น ภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบ หอบหืด รวมไปถึงภาวะที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะกรดไหลย้อน ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น
ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นท้อง ปวดท้อง หรือรู้สึกไม่สบายท้องบริเวณส่วนบนหรือบริเวณลิ้นปี่ ในบางรายอาจรู้สึกอิ่มเร็วกว่าปกติ ส่วนใหญ่มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ และเมื่อไม่ได้ตรวจสุขภาพเพื่อรับการรักษาที่ต้นเหตุอย่างถูกต้อง ก็ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังได้
ผู้ป่วยสามารถสังเกตได้จากอาการท้องเสียบ่อย อุจจาระเป็นน้ำ หรือท้องผูกบ่อย ถ่ายแข็งต้องออกแรงเบ่งมาก ในบางรายอาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย หรือมีอุจจาระสีดำเหนียวคล้ายยางมะตอย แม้จะรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและถูกสุขอนามัย อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร การดูดซึมและการขับถ่าย
รวมถึงอาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะมีมดขึ้น หรือปัสสาวะเป็นเลือด อาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อหรือโรคในระบบทางเดินปัสสาวะต่าง ๆ รวมถึงโรคเบาหวาน หรือดีซ่าน
ผู้ป่วยสามารถสังเกตได้จากการเกิดจ้ำเลือดตามผิวหนัง บางรายอาจอาเจียนออกมาเป็นเลือดหรือถ่ายเป็นเลือด รวมถึงการมีเลือดออกทางช่องคลอดนอกรอบประจำเดือน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีเลือดออกผิดปกติมักมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย
ข้อแนะนำเพิ่มเติมคือคุณอาจจะไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการครบทุกข้อ หากแค่รู้สึกภายในมีอาการแปลกไปจากเดิมแล้วไม่สบายใจ ควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาในเบื้องต้น เพราะอย่างที่เกริ่นไปด้านบน การเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยก็อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง