ลำไส้แปรปรวน ภาวะที่เป็นปัญหาต่อระบบขับถ่าย

July 29 / 2022

 

ลำไส้แปรปรวน ภาวะที่เป็นปัญหาต่อระบบขับถ่าย

 

 

โรคลำไส้แปรปรวน หรือ ไอบีเอส (IBS) เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของลำไส้ส่วนปลาย ได้แก่ ปลายลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็ก ที่มีการบีบตัวมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง ไม่สบายท้อง มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ท้องผูก หรือท้องเสีย

 

 

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน

 

  • การบีบตัว หรือการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการหลั่งสาร หรือฮอร์โมนบางอย่างในผนังลำไส้ผิดปกติ นำไปสู่อาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ เช่น หลังกินอาหาร ซึ่งในคนปกติจะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัว หรือเคลื่อนตัวเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่ในผู้ป่วยไอบีเอสจะมีการตอบสนองมากผิดปกติ มีการบีบตัว และการเคลื่อนตัวของลำไส้มากขึ้น จนมีอาการปวดท้องและท้องเสีย หรือท้องผูก เป็นต้น นอกจากอาหารแล้วตัวกระตุ้นอื่นที่สำคัญ คือ ความเครียด หรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก็มีส่วนเสริมให้มีอาการมากขึ้น
  • มีความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของแกนที่เชื่อมโยงระหว่างประสาทรับความรู้สึก ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้และสมอง (Brain – Gut Axis) โดยเกิดจากความผิดปกติของสารที่ควบคุมการทำงานซึ่งมีหลายชนิด และทำหน้าที่แตกต่างกัน

 

 

 

อาการของลำไส้แปรปรวน

 

  • อาการปวดท้อง อาจจะปวดตรงกลาง หรือปวดบริเวณท้องน้อย โดยทั่วไปจะปวดท้องน้อยด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา ลักษณะอาการปวดมักจะปวดแบบปวดเกร็ง
  • อาการแน่นท้อง ท้องอืด มักจะไม่สัมพันธ์กับอาหาร
  • หน้าท้องโตขึ้นเหมือนมีลมในท้องอาจมีอาการเรอ หรือผายลมมากขึ้น
  • การถ่ายอุจจาระไม่ปกติบางรายมีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย และผู้ป่วยบางรายมีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด บางรายปวดเบ่ง แต่เมื่อถ่ายอุจจาระแล้วอาการดีขึ้นมักจะอุจจาระเป็นมูก อาการเหล่านี้มักเป็นๆ หายๆ มีอาการมากน้อยสลับกันไป 

 

 

 

ปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน

 

IBS เป็นโรคเรื้อรัง เนื่องจากร่างกายมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นสูงจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

 

  • การแพ้อาหาร สำหรับบางคนอาหารบางประเภทสามารถกระตุ้นการเกิดโรค IBS ได้
  • ความเครียด
  • ฮอร์โมนเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรค IBS สูงกว่าเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจึงมีแนวโน้มที่จะพบโรคลำไส้แปรปรวนได้มากกว่า

 

 

การรักษาโรคลำไส้แปรปรวน

 

ในการรักษาทำได้โดยบรรเทาอาการของโรคลำไส้แปรปรวน เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติมากที่สุด โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยาก เพื่อลดการเกิดแก๊สในท้อง
  • รับประทานอาหารตรงเวลา ไม่ควรอดอาหาร และไม่ควรรีบรับประทาน
  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • รักษาด้วยยาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด, ยาระบาย (ท้องผูก), ยาหยุดถ่าย (ท้องเสีย)

 

 

 

 

เพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จึงมีแนวโน้มที่จะพบโรคลำไส้แปรปรวนได้มากกว่าเพศชาย

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

นพ.ดนัย ลิ้มมธุรสกุล

อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร

 

 

แก้ไข

29/07/2565

 

 

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

แพ็กเกจวัคซีนปอดอักเสบ Vaxneuvance (PCV 15) 1 เข็ม

เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ห่างไกลโรค IPD

ราคา 3,250 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Platinum plus Check up สุภาพสตรี

เพราะร่างกายผู้หญิงซับซ้อนมากกว่าที่คิด ตรวจสุขภาพดูแลป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป เพื่อให้คุณใช้ชีวิตได้แบบที่ต้องการ

ราคา 59,990 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Platinum Check up สำหรับกลุ่มสุภาพบุรุษ

เตรียมสุขภาพให้พร้อมสำหรับอนาคต ป้องกันความเสี่ยงจากโรคร้ายแรง

ราคา 30,990 บาท

บัตรกำนัลเงินสด Ramkhamhaeng Gift Card

"แทนความห่วงใย" & "ของขวัญเยี่ยมไข้" มอบสุขภาพดีเป็นของขวัญสุดพิเศษ ด้วยบัตรกำนัลเงินสด Ramkhamhaeng Gift Card

ราคา 1,000 บาท

แพ็กเกจฝึกแก้ไขเรื่องการพูด ในเด็กทีพบความผิดปกติทางภาษา

บำบัดรักษาแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพ ในเด็กทีมีความผิดปกติทางภาษาและการพูด

ราคา 800 บาท