การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่บ้าน

January 30 / 2024

 

 

 

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่บ้าน

 

 

หัวใจสำคัญคือการเตรียมบ้านให้ปลอดภัย เนื่องจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะมีความจำแย่ลงไปเรื่อยๆ ในระยะที่โรคเริ่มลุกลาม ซึ่งจะมีอาการตัดสินใจผิดพลาด การเดิน การเคลื่อนไหวและการทรงตัวจะแย่ลง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเองหรือผู้อื่นได้ ผู้ดูแลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรค อาการ และอาการแสดง พฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นและการดูแลที่เป็นพิเศษที่จะเตรียมการป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุ ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งปรับปรุงสถานที่ และสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ได้อย่างเป็นสุข และปลอดภัย

 

 

 

การวางแผนการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

 

  1. ควรทำธุรกรรมทางการเงิน ในขณะที่ผู้ป่วยสามารถพูดคุยรู้เรื่อง
  2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการทำงานที่ดีของข้อต่อ กล้ามเนื้อ และหัวใจ ช่วยป้องกันและชะลอโรคอัลไซเมอร์ได้
  3. ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินป้องกันการหกล้ม
  4. การเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วย เพื่อลดการสำลักในขณะรับประทาน และควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์
  5. ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี

 

 

ภายในตัวบ้าน 

 

  1. จดรายชื่อเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน และที่อยู่ผู้ติดต่อได้ไว้ใกล้โทรศัพท์ทุกเครื่องในบ้าน และเพิ่มเบอร์ติดต่อฉุกเฉินในโทรศัพท์มือถือ
  2. ติดตั้งสัญญาณเตือนภัยจากควันไฟ (smoke alarms) ไว้ใกล้ห้องนอน และห้องครัวทุกห้องและหมั่นตรวจสอบให้อุปกรณ์อยู่ ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ หรือติดกล้องวงจรปิด
  3. เก็บของมีคม ของหนัก หรือของที่แตกง่าย และของที่มีขนาดเล็กพอที่จะหยิบของเข้าปากได้ เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลได้รับบาดเจ็บ สำลักลงคอหรืออุบัติเหตุอื่น     
  4. ติดตั้งกุญแจล็อคที่ประตูทุกบานที่จะเปิดออกข้างนอกบ้านได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเดินออกนอกบ้านตามลำพัง รวมทั้งเก็บกุญแจล็อคต่างๆ ให้พ้นมือผู้ป่วย 
  5. เก็บสายไฟให้เรียบร้อย หรือเดินสายไฟใหม่ เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม และติดที่ป้องกันปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟช็อต 
  6. จัดเครื่องเรือนไม่ให้ เกะกะขวางทาง เพื่อให้เดินได้สะดวก 
  7. ติดตั้งดวงไฟกลางคืนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนกลางดึกรวมทั้งเปิดไฟทางเดินบันไดให้สว่าง และทำราวบันไดให้แข็งแรง 
  8. การดุแลเสื้อผ้าให้สะอาดอยู่เสมอ เช่น ตู้เสื้อผ้า และควรนั่งใส่การเกงบนเตียงเพื่อป้องกันการหกล้ม
  9. จัดแสงสว่างในแต่ละห้องให้เพียงพอ
  10. เก็บยาและสารเคมีต่างๆ ให้เป็นที่ เพื่อป้องกันผู้ป่วยหยิบรับประทานเอง ​

 

 

 

ห้องนอน 

 

  1. หลีกเลี่ยงการใช้พรมเช็ดเท้าบริเวณทางขึ้น - ลงบันได ควรปูพรมเต็มพื้นที่แทน และเช็ดพื้นให้แห้งอย่าให้พื้นเปียกโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน เพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม 
  2. จัดวางสิ่งของและเครื่องเรือนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดวางเฉพาะสิ่งของที่จำเป็น และสิ่งที่ผู้ป่วยคุ้นเคย
  3. ติดตั้งอินเตอร์คอม (Intercom) เพื่อเตือนให้ผู้ดูแลทราบกรณีได้ยินเสียงผิดปกติ เช่น เสียงผู้ป่วยล้มลง หรือผู้ป่วยร้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งอุปกรณ์นี้ควรติดตั้งในห้องน้ำเช่นกัน
  4. ประตูห้องนอน (รวมทั้งห้องนอน) ควรเป็นชนิดที่เปิดล็อคได้จากทั้งด้านนอกและด้านใน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยปิดขังตนเองอยู่ในห้องโดยไม่มีใครรู้​

 

 

 

ห้องครัว 

 

  1. เก็บอุปกรณ์ของมีคม ของแตกง่าย สารเคมีต่างๆ ให้พ้นมือและพ้นสายตาผู้ป่วย โดยเก็บในตู้ล็อคให้เรียบร้อย
  2. เตาแก๊สหุงต้ม ควรถอดลูกบิดเปิด-ปิดแก๊ส หรือติดตั้งวาล็วปิด-เปิดแก๊สให้พ้นมือและพ้นสายตาผู้ป่วย เก็บไม้ขีดไฟให้ดี ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยจุดเตาได้ง่าย
  3. เก็บของตกแต่ง เช่น ผลไม้ หรือผักปลอมที่ทำเลียนแบบเหมือนจริง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดและกลืนลงคอไป
  4. ถ้าจำเป็นอาจติดกุญแจล็อคเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเข้าไปในครัว​

 

 

 

 ห้องน้ำ 

 

  1. ควรวางแผ่นยางกันลื่นที่พื้นห้องน้ำและในอ่างอาบน้ำ 
  2. ควรติดตั้งราวจับ หรือราวเกาะที่ฝาผนังให้ผู้ป่วยในที่อาบน้ำ และควรจัดหาเก้าอี้พิเศษ สำหรับอาบน้ำ เพื่อให้ผู้ป่วยอาบน้ำด้วยตนเองได้สะดวก และง่ายต่อการดูแลจัดแสงสว่าง ในห้องน้ำให้เพียงพอ
  3. อุปกรณ์เครื่องทำน้ำอุ่น ควรมีระบบติดตั้งอุณหภูมิที่ต้องการให้เครื่องตัดอุณหภูมิ เพื่อป้องกันน้ำร้อนลวก

** กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรซื้อเก้าอี้สุขาเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย

 

การเตรียมความพร้อมที่ดีจะช่วยให้ท่านดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ท่านรัก ได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข

 

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพสตรี ตรวจภายใน ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่ป้องกันได้

ราคา 1,800 บาท

Healthy heart package (ผู้ชาย)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้ชาย)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

“Healthy start program” โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ดูแลหัวใจและปอดของคุณและคนที่คุณรัก ด้วยโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ราคา 3,000 บาท

บริการอุปกรณ์ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พกพาได้

ติดตามการเต้นของหัวใจแบบทางไกล เหมาะกับใครบ้าง ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ พบอาการไม่บ่อยเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยวิธีตรวจอื่นๆ

ราคา 12,000 บาท

Exercise Ready มาเตรียมความพร้อม ก่อนกลับไปออกกำลังกาย

ตรวจเช็กให้มั่นใจก่อนกลับไปออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัยและได้สุขภาพที่แข็งแรงกลับมา

ราคา 12,581 บาท