โควิด-19 กับการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารและตับ

March 04 / 2025

พญ. ปานวาด มั่นจิต

แพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ


 

     นอกจาก COVID-19 มุ่งเน้นทำลายระบบทางเดินหายใจเป็นหลักแล้ว หมอขอบอกว่าตอนนี้มีงานวิจัยหลายตัว บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสตัวนี้ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารและตับได้ด้วย

 

การเดินทางเข้าสู่ระบบอาหารและตับของเชื้อโควิด-19

     ตัวรับบนผิวเซลล์ซึ่งเป็นช่องทางให้เชื้อไวรัสโควิด-19 อาศัยอยู่ในร่างกายมีชื่อว่า ACE2 Receptor โดยปกติจะพบตัวรับชนิดนี้มากในปอดและเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ ก่อนหน้านี้เราก็เลยสันนิฐานกันว่ามันน่าจะเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ในระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม วิทยาการแพทย์ปัจจุบันได้ค้นพบว่าตัวรับดังกล่าวยังพบมากในเซลล์เยื่อบุผิวทางเดินอาหารและเยื่อบุท่อน้ำดีด้วยเหมือนกัน

 

 


ปัจจุบันเรื่องนี้จึงได้รับการสันนิษฐานว่า หากเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร เซลล์จะทำงานผิดปกติ เช่น การดูดซึม การรั่วซึมของสิ่งแปลกปลอมภายนอกเข้าสู่เซลล์เพิ่มขึ้น

 


 

อาการหลังเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร

โดยอาการของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารส่วนใหญ่ ได้แก่

 

  • อาการท้องเสีย ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด
  • คลื่นไส้อาเจียน (พบบ้างปานกลาง)
  • ปวดท้อง (มีน้อยเคส)

 

 

 

โควิด-19 ทางเดินอาหารโควิด-19 ทางเดินอาหารโควิด-19 ทางเดินอาหาร

 

 

ระยะของอาการ

     อาการที่เกิดขึ้นในทางระบบทางเดินอาหารเหล่านี้มักแสดงก่อน 1-2 วันแรก หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ หายใจหอบเจ็บปอด และตามด้วยอาการในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจรุนแรงใกล้เคียงกับอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรง

 

 

กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคตับและเกิดติดเชื้อโควิด-19

     มีสถิติหนึ่งพบว่าผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีค่าระดับเอนไซม์ตับ (AST,ALT) ที่สูงผิดปกติ (ซึ่งพบได้ราว 14-57% ของผู้ป่วย) โดยมีระดับสูงขึ้นประมาณ 1-3 เท่าของค่าปกติ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ยังไม่ก่อให้เกิดอาการทางตับที่ชัดเจนนัก อีกทั้งค่าตับยังสามารถกลับเป็นปกติได้เองโดยไม่ต้องให้การรักษาจำเพาะ กรณีที่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังเดิมอยู่แล้ว ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติของค่าตับได้มากกว่าตัวเลข 1-3 ดังกล่าว และอาจทำให้มีอาการที่แย่ลงได้หลังรับเชื้อเช่นกัน
 


 


ปัจจุบันยังไม่พบรายงานการเสียชีวิตจากตับวายที่เกิดจาก COVID-19 โดยตรง ฉะนั้นจึงยังยืนยันไม่ได้


 

 

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นอกจากการเว้นระยะ หมั่นล้างมือแล้ว หมอยังมีขอแนะนำให้ปฎิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
 

  • การทานยารักษาโรคประจำตัวเดิมอย่างต่อเนื่อง สามารถทานยาลดไข้พาราเซตามอล ขนาดไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน (4 เม็ดต่อวัน) หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAIDS โดยเฉพาะไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  • การทานอาหารที่สุกร้อน สะอาด ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนเชื้อไวรัสได้
  • การเข้าพบแพทย์ตามนัด (ส่วนใหญ่แพทย์จะนัดผู้ป่วยติดตาม อาการเท่าที่จำเป็นเท่านั้น)

 

 

 


โรงพยาบาลรามคำแหงมีมาตรการรักษาความปลอดภัยด้านการติดเชื้อในโรงพยาบาล เพื่อให้ทุกท่านเชื่อมั่นในสถานพยาบาลและรู้สึกเบาใจยิ่งขึ้นเมื่อเข้ารับการรักษาจากแพทย์