การตรวจหามะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก โรคร้ายนี้อาจจะเกิดขึ้นกับคุณโดยไม่ทันรู้ตัว ดังนั้นการตรวจเต้านมเป็นประจำสามารถช่วยชีวิตคุณได้ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อทำความคุ้นเคยกับเต้านมและสามารถค้นพบสิ่งผิดปกติได้ง่าย
ควรตรวจหามะเร็งเต้านมเมื่อไร ?
“สำหรับผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจต้องรับการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมเร็วกว่าปกติ”
วิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง 3 ท่า
ท่าที่ 1 ยืนหน้ากระจก
ท่าที่ 2 นอนราบ
ท่าที่ 3 ขณะอาบน้ำ
วิธีการคลำ 3 แบบ
วิธีการคลำอาจใช้แบบใดแบบหนึ่งต่อไปนี้..
3 นิ้ว ที่ใช้สัมผัส
วิธีการกด 3 ระดับ
ตรวจหามะเร็งเต้านม.....ด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านมแบบ 3 มิติ (Digital Mammogram with Tomosynthesis)
เวลาทำแมมโมแกรม จะรู้สึกเจ็บมากไหม ?
ปัจจุบันมีแมมโมแกรม 2 แบบ คือ แบบแรกเป็นการตรวจโดยใช้ฟิล์มแบบที่สองเป็นการพัฒนาขึ้นมาใหม่ให้มีความแม่นยำมากขึ้น เป็นการถ่ายด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งมีความคมชัดของภาพมากกว่า สามารถบอกตำแหน่งของจุดที่มีปัญหาได้ดีกว่าระบบใช้ฟิล์มและปัญหาเรื่องความเจ็บปวดเต้านมระหว่างการทำแมมโมแกรมจะน้อยมาก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการกดเต้านมจะค่อยๆ กดลงมาที่บริเวณเต้านมอย่างนุ่มนวลกว่าเครื่องที่ใช้ฟิล์ม และที่โรงพยาบาลเราก็ใช้แมมโมแกรมระบบดิจิตอล
ทำไมต้องตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมระบบดิจิตอลและอัลตร้าซาวด์ ?
แมมโมแกรมมีอยู่สองแบบ แบบแรกเป็นการตรวจโดยการใช้ฟิล์ม แบบที่สองคือระบบดิจิตอล ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความแม่นยำมาก รวดเร็ว ละเอียดมากกว่า ปริมาณรังสีน้อยลง ถ้าตรวจพบก้อนจะเห็นขอบเขตได้ชัดขึ้น และมีโปรแกรมสแกนภาพหาความผิดปกติของเต้านมรวมทั้งใช้คลื่นเสียงและความถี่สูงเพื่อวินิจฉัยหาความผิดปกติว่ามี ก้อน ถุงน้ำ หรือไม่ และสามารถตรวจได้ทั้ง 2 วิธีในครั้งเดียวกัน ราคาเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมแบบที่สองนี้มีราคาสูงถึง 15 ล้านบาท
โอกาศได้รับอันตรายจากรังสี จากการทำแมมโมแกรม มีมากไหม ?
การทำแมมโมแกรมใช้ปริมาณรังสีที่ต่ำมาก อาจเทียบเท่าหรือน้อยกว่าการถ่ายรังสีทรวงอก ดังนั้น อันตรายจากรังสีต่ำมาก และแมมโมแกรมแบบดิจิตอลนั้น สามารถลดปริมาณรังสีลงจากเดิมประมาณ 30-60 %
ตรวจแมมโมแกรมไม่พบความผิดปกติ แสดงว่าไม่เป็นมะเร็งใช่ไหม ?
การตรวจไม่พบความผิดปกติ บอกได้แต่เพียงว่าในขณะนั้นไม่พบมะเร็งเต้านม มะเร็งอาจเกิดขึ้นหลังจากนั้น หรืออาจมีแล้วแต่ไม่มีลักษณะความผิดปกติในแมมโมแกรม จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงควรตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ และตรวจเอกซเรย์เต้านมเมื่อถึงวัยอันควร รวมทั้งสตรีที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรจะได้รับการตรวจเอกซเรย์เต้านมด้วยระบบแมมโมแกรมปีละ 1 ครั้ง เพื่อที่จะวินิจฉัยมะเร็งให้ได้แต่เนิ่นๆ การรักษาจึงจะได้ผลดี
การดูแลและป้องกันมะเร็งเต้านม 3 วิธี