เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรงพยาบาลรามคำแหง (“โรงพยาบาล”) ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ท่านให้โรงพยาบาลใน ระหว่างการร้องขอการบริการ การเยี่ยมชมเว็บไซต์
หรือใช้แอพพลิเคชั่นของหรือจากโรงพยาบาล นโยบาย คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูล กับโรงพยาบาล หรือร้องขอการบริการจากโรงพยาบาลผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของโรงพยาบาล อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของโรงพยาบาล หรือจากความสมัครใจ ของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างโรงพยาบาล และท่าน
2. โรงพยาบาลอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่นธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทน จำหน่าย หรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวม และประเภทของการบริการที่ท่านร้องขอจากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
1) ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วัน เดือน ปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
2) ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลล์
3) ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และ รายละเอียดบัญชี ธนาคาร
4) ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ
5) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
6) ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
7) ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของโรงพยาบาล
8) ข้อมูลด้านสุขภาพ รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย
9) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน
10) ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากร เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของท่าน
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของโรงพยาบาล
2) นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของโรงพยาบาล
3) การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
4) การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
5) ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
6) อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
7) จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับ โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
8) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบค าถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
9) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
10) วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่นการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
11) รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
12) เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
13) ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล
14) ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
15) วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจาก ท่านเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือ นอกราชอาณาจักร โดยโรงพยาบาลจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและ กฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
1) พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนน และสิทธิ ประโยชน์และศูนย์การแพทย์ และหรือบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ
2) ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
3) เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
4) หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
5) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของโรงพยาบาล อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากท่านไปตาม ลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าโรงพยาบาลไม่ สามารถรับผิดชอบใดๆ ต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการ ควบคุมของโรงพยาบาล
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูก เก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทาง กฎหมาย
2. โรงพยาบาลจะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) : ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลได้ ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) : ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและ ขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลท าการลบข้อมูล ของท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) : ท่านมีสิทธิในการระงับการ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) : ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วน บุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) : ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถร้องขอการเข้าถึงหรือขอให้อัพเดตและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงสิทธิอื่นใดข้างต้น หรือสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ เช่น ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรณีเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกนำไปใช้เกิน ขอบเขตวัตถุประสงค์การใช้งานที่แจ้งให้ทราบข้างต้น หรือไม่ได้รับความยินยอมจากท่าน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะทำการพิจารณาทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลจะแจ้ง ให้ท่านทราบด้วยการ อัพเดตข้อมูลลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.ram-hosp.co.th/contactus โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้หากท่านมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อได้ที่อีเมลล์ support@ram-hosp.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 01 มิถุนายน 2565
(นพ.พิชญ สมบูรณสิน)
กรรมการบริหาร
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
รู้จักโรค RSV ภัยร้าย ที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม
โรคที่ไม่คุ้นหูแต่อาจจะเคยได้ยินข่าวเด็กเล็กป่วยเป็นโรคนี้อยู่บ่อยครั้ง รู้หรือไม่ว่าเป็นวัยผู้ใหญ่ ก็สามารถเป็นได้โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุโรคนี้มีผลกระทบรุนแรงมาก เนื่องจากเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมและปอดไวรัสนี้มีลักษณะเฉพาะที่สามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงทำให้เกิดอาการขั้นรุนแรงได้เลย และยิ่งอากาศในช่วงนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ก็ยิ่งเป็นช่วงที่ปลายฤดูฝนไปจนถึงฤดูหนาวก็มีโอกาสที่พบโรคนี้ได้สูงขึ้นกว่าฤดูอื่น ๆ เพราะฉะนั้นการทำความรู้จักกับโรครวมไปถึงวิธีการป้องกันก็จะช่วยลดความเสี่ยงรวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความร้ายแรงในอนาคตอีกด้วย
สาเหตุของโรค RSV
ไวรัส RSV เป็นไวรัสที่แพร่กระจายได้ง่ายผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจาม ไวรัสนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูก ปาก หรือดวงตา โดยเกิดได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อหรือสัมผัสเชื้อได้โดยตรงจากการจับมือหรือเมื่อบุคคลสัมผัสกับพื้นผิวที่มีไวรัสและนำมือมาสัมผัสใบหน้าหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน เชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อได้ง่ายในสภาพแวดล้อมที่มีคนอยู่หนาแน่นได้เช่นเดียวกัน เพราะเป็นไวรัสที่สามารถอยู่บนพื้นผิวต่างๆได้นานหลายชั่วโมง และแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอหรือจาม
อาการของโรค RSV
ผู้สูงอายุและกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวนั้นเสี่ยงต่อการเป็น RSV ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่อาการของ RSV จะมีลักษณะคล้ายกับอาการของหวัดธรรมดา แต่จะแตกต่างกันตรง RSV จะมีไข้สูงและจะมีระยะเวลาในการเป็นนานกว่าไข้หวัดธรรมดาโดยจะอยู่ที่ 5-7 วัน ซึ่งสามารถสังเกตอาการของตนเองได้ดังนี้
สำหรับผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรค RSV มักจะมีอาการระยะสั้นไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้าหากเป็นผู้ป่วยในกลุ่มโรคหลอดลมอักเสบ หรือกลุ่มที่มีโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ก็อาจทำให้มีอาการไอต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนได้
ความร้ายแรงของโรค RSV ในผู้สูงอายุ
สำหรับผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงเมื่อเทียบเท่ากับวัยหนุ่มสาว ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ RSV ได้ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ และอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ด้วย นอกจากนี้หากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวอื่นหรือระบบภูมิกันอ่อนแอร่วมด้วย ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือภาวะหายใจล้มเหลว เมื่อได้รับเชื้อ RSV อาจทำให้สุขภาพหรืออาการของโรคก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปอีกเพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพและการป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญ
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรค RSV
ถ้าผู้ป่วยพบว่ามีอาการเบื้องต้นและยังไม่แน่ใจว่าได้รับเชื้อ RSV หรือไม่ แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการ โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรค RSV โดยการตรวจอาการและทำการตรวจจากสารคัดหลั่งจากจมูกหรือคอ เพื่อหาหลักฐานของไวรัส ซึ่งจะตรวจพบเชื้อ RSV เพียงร้อยละ 53-96 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV ซึ่งการตรวจทำได้ในบางโรงพยาบาลเท่านั้น เมื่อแพทย์พบเชื้อจะรักษาตามอาการของผู้ป่วย แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
วิธีการรักษาและการป้องกัน และวัคซีน RSV
โรค RSV เป็นโรคติดเชื้อที่ถึงแม้หายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพราะภูมิคุ้มกันอยู่ได้ไม่นาน สามารถแพร่กระจายจากเด็กเล็กให้ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ รวมไปถึงคนที่มีโรคประจำตัวโรคปอด โรคหัวใจ และภูมิคุ้มกันต่ำ ก็สามารถป่วยหนักถึงขั้นเสียชีวิตได้
ปัจจุบันมีวัคซีน RSV ที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการติดเชื้อและความรุนแรงของโรค RSV และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้โดยตรง ซึ่งมีทั้งวัคซีนสำหรับเด็ก และวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุการฉีดวัคซีน RSV แนะนำให้ฉีดควบคู่ไปกับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ที่อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลงได้ โดยระยะเวลาในการรักษาของแต่ละคนขึ้นกับความรุนแรงของโรค ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ สำหรับการป้องกันการติดเชื้อ RSV อื่นๆ ก็คือ การเริ่มต้นป้องกันได้ด้วยตัวเอง อย่างการล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลอยู่เสมอ หรือ ใส่หน้ากากอนามัยเป็นประจำ และรักษาความสะอาดทำความสะอาดของเล่นเด็กบ่อย ๆ หรือหากมีคนในบ้านป่วยควรแยกและงดใช้ของส่วนตัวร่วมกัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ร่วมไปกับการพักผ่อนให้เพียงพอก็เป็นอีกตัวช่วยที่สำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง ในผู้สูงอายุและเด็กเล็ก หากมีอาการป่วย ควรสังเกตอาการของตนเองเพราะถ้าปล่อยไว้อาจเกิดผลกระทบรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การตรวจเบื้องต้นจะช่วยให้สามารถแยกผู้ป่วยออกจากบุคคลอื่น ๆ ได้ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค การป้องกันและการรักษา ให้ทันท่วงทีจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ที่ตามมาได้
วัคซีน RSV คืออะไร?
วัคซีนอาร์เอสวี (Respiratory syncytial virus Respiratory syncytial virus; RSV) “Arexvy” ใช้สำหรับกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower Respiratory Tract Disease; LRTD) ที่มีสาเหตุมาจาก respiratory syncytial virus ซึ่งผลของวัคซีนจะช่วยทำให้ลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยรุนแรงจากการติดเชื้อได้ โดยฉีดเพียง 1 เข็ม เท่านั้น
เนื่องจากเชื้อ RSV อาจมีผลทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้ และในเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อนี้อาจมีอาการปอดอักเสบรุนแรง ดังนั้นสำหรับคนไข้โรคหืดและปอดเรื้อรังสามารถให้ได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป สำหรับผู้สูงอายุทั่วไปสามารถให้ได้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยฉีดเพียงเข็มเดียว สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการติดเชื้อ RSV ได้แก่ การมีโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคเลือด ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีน RSV
วัคซีน RSV สำหรับผู้ใหญ่ มีประสิทธิภาพในการป้องกันโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงดังนี้
ประโยชน์หลังจากที่ฉีดวัคซีนป้องกัน RSV
ข้อควรระวังในการรับวัคซีน RSV
ผลข้างเคียงของวัคซีน RSV
อาจมีอาการ ปวด บม แดง บริเวณที่ฉีด อาจมีไข้ หนาวสั่น
โรงพยาบาลรามคำแหง
436 ถ. รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1512, 02-743-9999
แฟกซ์ 0 2374 0804
support@ram-hosp.co.th