การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เฝ้าสังเกตสัญญาณไม่อาจทราบด้วยตัวเอง

March 07 / 2025

ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

 

 

 

     มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นภัยร้ายที่เราไม่สามารถทราบได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากไม่อาจเห็นด้วยตาเปล่าตลอดเวลา หากปล่อยนานก้อนเนื้อร้ายหรือมะเร็งอาจค่อย ๆ โตอยู่ในลำไส้ใหญ่ของเราโดยไม่รู้ตัว และความน่ากลัวของมะเร็งลำไส้ใหญ่คือ โอกาสที่จะแพร่ไปสู่ต่อมน้ำเหลืองสูง การส่องกล้องตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงจำเป็น 

 

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่

 

 

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

     การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่  (Colonoscopy) เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคโดยใช้กล้องพิเศษที่มีลักษณะเป็นท่อยาวเล็กๆ สอดผ่านทวารหนักเพื่อผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ทำให้แพทย์สามารถเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ตลอดทั้งลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลาย ซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น 20 - 30 นาที

 

 

ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

 

 

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ดีอย่างไร ? 

     การตรวจลำไส้ใหญ่ตามมาตรฐานในปัจจุบันคือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ซึ่งมีข้อดีคือสามารถตรวจดูภายในลำไส้ใหญ่ได้โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด เพียงสอดกล้องขนาดเท่านิ้วก้อยเข้าไปในลำไส้ใหญ่ผ่านทางทวารหนัก ซึ่งตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ แพทย์จะใช้เครื่องมือตัดเนื้องอกหรือมะเร็งระยะเริ่มต้นผ่านทางกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

 

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่สำคัญอย่างไร

     เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นอันดับ 3 ของผู้ชายเเละอันดับ 5 ของผู้หญิง ปัจจุบันจึงมีคำแนะนำให้ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไปโดยที่ไม่ต้องรอให้มีอาการผิดปกติ เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่ตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้บ่อยขึ้นตามสถิติ แต่ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมีอาการผิดปกติ เช่น การขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ ท้องผูกสลับท้องเสีย มีเลือดออกทางทวารหนัก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจต้องตรวจก่อนหน้านั้น โดยที่ไม่ต้องรอจนอายุ 50 ปี

 

 

ส่องกล้องตรวจลำไส้

 

 

เมื่อไรควรส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ? 

  • เมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป 
  • มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยควรตรวจล่วงหน้าก่อนถึงช่วงอายุที่คนเป็นโรคลำไส้ใหญ่ อย่างน้อย 10 ปี เช่น หากมีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ตอนอายุ 55 ปี เราก็ต้องตรวจตอนอายุ 45 ปี
  • มีอาการบ่งชี้ของมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย ท้องผูกเฉียบพลันในผู้สูงอายุ ปวดท้องเรื้อรัง ลำไส้อุดตัน เลือดออกทางทวารหนัก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยที่ไม่มีสาเหตุอื่นอธิบาย

 

 

 

ภายในลำไส้ใหญ่

 

ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

 

 

 

 

การเตรียมตัวก่อน-หลังการตรวจ

  • ก่อนตรวจ ก่อนวันตรวจหนึ่งวัน ควรรับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม งดอาหารประเภทผัก ผลไม้ อาหารเสริม ยาบำรุงเลือดและยาแก้ท้องเสีย ในบางรายแพทย์อาจให้ใช้ยาระบายในคืนก่อนวันตรวจหรือ อาจจะให้รับประทานยาล้างลำไส้ตอนเช้าก็ได้ เมื่อถึงวันตรวจให้งดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • ระหว่างการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บใดๆ ขณะสอดส่องกล้อง
  • หลังตรวจ นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลราว 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ฟื้นตัวจากยาระงับความรู้สึก เนื่องจากห่างลุกเร็วเกินไปอาจเกิดลมแน่นท้องเล็กน้อยจากการที่แพทย์ใส่ลมไปในลำไส้ระหว่างการตรวจ ซึ่งระบายออกหมดเองในไม่กี่นาที ทั้งนี้ส่วนใหญ่ยังรับประทานอาหารและปฏิบัติกิจวัตรได้ตามปกติ

 

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารพร้อมใส่ใจสุขภาพลำไส้ของคุณ

     ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร โรงพยาบาลรามคำแหง พร้อมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างทุ่มเทด้วยเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง และเหล่าแพทย์ชำนาญการซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่จึงเปรียบเสมือนแสงสว่างใหม่แห่งวงการแพทย์ซึ่งช่วยชีวิตผู้ป่วยได้สะดวกยิ่งขึ้น เมื่อตรวจพบเร็วก็รักษาได้ไว เนื่องจากให้ผลที่แม่นยำสูงเมื่อเทียบกับการตรวจอื่น เช่น การตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจอุจจาระ ผู้ป่วยจึงสามารถผ่อนคลายสบายใจยิ่งขึ้นเมื่ออยู่กับเรา

 

 

ควรตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป โดยไม่ต้องรอให้มีอาการผิดปกติ ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งอาจต้องทำการตรวจโดยไม่ต้องรออายุ 50 ปี