โรคไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่คืออะไร
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ที่มีหลายสายพันธุ์ และอาจมีการระบาดของสายพันธุ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี
ไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้อย่างไร
โรคไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยติดต่อทางการสัมผัสละอองฝอยของสารคัดหลั่งทางเดินหายใจของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ เข้าทางจมูก และปากโดยตรง หรือติดต่อทางอ้อมโดยสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนที่พื้นผิวสิ่งแวดล้อม เช่น ลูกบิด ราวบันได แล้วนำมือมาสัมผัสที่จมูก ปาก หรือตา โดยผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนมีอาการ 1 วัน และหลังมีอาการ 5-7 วัน มีระยะฟักตัวของโรคคือ 1-4 วัน
สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย
กระทรวงสาธารณสุขคาดประมาณจํานวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั้งประเทศถึง 7-9 แสนรายต่อปี โดยเป็นผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง 1-7 หมื่นรายต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีภาวะแทรกซ้อนถึงร้อยละ 2.5
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร?
โรคไข้หวัดใหญ่ มักจะมีอาการที่รุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด คือ
ภาวะแทรกซ้อนไข้หวัดใหญ่ที่พบมีอะไรบ้าง?
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หูชั้นกลาง หรือไซนัสอักเสบ และไข้ชักในเด็ก เป็นต้น
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่?
ในปัจจุบันมีการตรวจทดสอบไข้หวัดใหญ่ ด้วยสิ่งส่งตรวจจากทางเดินหายใจ โดยการใช้ไม้พันสำลีป้ายบริเวณเยื่อบุโพรงจมูก แล้วนำส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ สามารถทราบผลได้ในเวลา 40-60 นาที
ใครมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่?
แนวทางการรักษา และดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่
วิธีป้องกันตนเองจากไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
เป็นการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุด ฉีดได้ในทุกคนที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรงควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกราย
วัคซีนสามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ร้อยละ 50 – 95 ภูมิคุ้มกันโรคจากการฉีดวัคซีนสามารถอยู่ได้นานประมาณ 1 ปี ดังนั้นจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ปีละ 1 เข็ม
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หากเกิดในเด็กหรือผู้สูงอายุจะมีความรุนแรงมากเนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคต่ำทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ในบางรายอาจรุนเเรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
แก้ไขล่าสุด 09/06/63