วลัยรัตน์ จริยะเศรษฐพงศ์
อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การควบคุมและเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ โดยเฉพาะการควบคุมอาหารในหมวดข้าว - แป้ง และหมวดผลไม้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับหมวดอาหารแลกเปลี่ยนเพื่อให้สามารถเลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้อง
อาหารแลกเปลี่ยน 1 ส่วน ในหมวดเดียวกันจะให้พลังงานและสารอาหารใกล้เคียงกันสามารถรับประทานแลกเปลี่ยนกันได้
ข้าว แป้ง 1 ส่วน เท่ากับ 1 ทัพพี มีโปรตีน 2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 18 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี ผู้หญิงควรรับประทาน 2-3 ส่วนต่อมื้อและผู้ชายควรรับประทาน 3-4 ส่วนต่อมื้อ ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง หรือขนมปังไม่ขัดสี เนื่องจากดูดซึมช้า ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว
ผัก ผักสุก 1 ส่วน 2 ถ้วยตวง หรือเท่ากับ 1 ทัพพี และผักดิบ 1 ถ้วยตวง หรือเท่ากับ 2 ทัพพี แบ่งออกเป็น
ผลไม้ 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี ผลไม้ทุกชนิดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานเพียง 1 ชนิดต่อมื้อ และหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ละมุด ขนุน เป็นต้น
เนื้อสัตว์สุก 1 ส่วน 30 กรัม เท่ากับ 2 ช้อนโต๊ะ หรือ เนื้อสัตว์ดิบ 40 กรัม มีโปรตีน 7 กรัม มีปริมาณแคลอรี เพิ่มตามไขมัน เป็น 35, 55, 75 และ 100 กิโลแคลอรี่
ไขมัน 1 ส่วน เท่ากับ 1 ช้อนชา ให้ไขมัน 5 กรัม และพลังงาน 45 กิโลแคลอรี่
ควรเลือกใช้น้ำมันพืชเนื่องจากไม่มีโคเลสเตอรอล หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารใส่กะทิ เบเกอรี่ต่างๆ
นม 1 ส่วน เท่ากับ 240 มล. มีโปรตีน 8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม ปริมาณพลังงานแตกต่างกันตามปริมาณไขมันในนมชนิดนั้น
ควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนย หลีกเลี่ยงนมปรุงแต่งรส และนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม เนื่องจากมีการเติมน้ำตาล
การควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวานเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรรับประทานอาหารแลกเปลี่ยนอย่างถูกต้อง และครบทั้ง 5 หมู่
อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อ
อายุรศาสตร์, อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อและ เมตาบอลิซึม
อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสึม