ผศ.นพ. อรรถพล เอี่ยมอุดมกาล
กุมารเวชศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
หลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครกำลังเผชิญปัญหามลพิษในอากาศเนื่องจากฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน คือ PM2.5 ฝุ่น PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เล็กประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผมมนุษย์ ซึ่งขนจมูกของเราไม่สามารถกรองได้ ซึ่งปัญหาดั่งกล่าวนี้ จะมีผลต่อสุขภาพของเราอย่างไรบ้าง? และมีวิธีป้องกันอย่างไรได้บ้าง ผศ.นพ อรรถพล เอี่ยมอุดมกาล แพทย์โรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก ได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้ครับ
A : ปกติเราจะต้องหายใจเอาอากาศที่ดีและบริสุทธิ์เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นเมื่ออากาศไม่บริสุทธิ์ ไม่ว่าอย่างไรก็ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจอย่างแน่นอน ตั้งแต่จมูก คอ หลอดลม หลอดลมฝอยหรือคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ก็อาจทำให้การหายใจแย่ลงได้ง่ายกว่าคนปกติ หรืออาจทำให้เกิดโรคหอบหืดเฉียบพลัน หรือโรคปอดขึ้นได้
A : จริง ๆ แล้วอาการขึ้นอยู่กับแต่ละคน ในระยะเฉียบพลันหรือได้รับสารพิษแบบเฉียบพลันอาจทำให้รู้สึกแสบจมูก แสบตาขึ้นมาได้ พอเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ หายใจเอาสารพิษเข้าไปเรื่อย ๆ ก็จะมีผลต่อเยื่อบุจมูกทำให้อักเสบ ทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง บางคนสูดสารพิษอนุภาคเล็กๆ ลงไปในส่วนลึกๆ ก็อาจจะทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหอบหืด หรืออาจทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ เช่น คนที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม จากประสบการณ์ที่ตรวจพบในเด็กที่มักจะเจอบ่อยๆ จะมีอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก แน่นจมูก บางคนถึงขั้นไอเรื้อรัง ไอซึมๆ บางคนทำให้เป็นหอบหืด มีเสียงหายใจวี๊ดๆ ขึ้นได้ แนะนำว่าควรจะต้องมาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียดจะกว่าครับ เพราะอาการของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
A : คนที่อยู่ในพื้นที่มีค่าฝุ่นละออง เกินค่ามาตรฐานนั้นแนะนำให้ใส่หน้ากากป้องกัน รวมถึงงด-หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และควรระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านระบบทางเดินหายใจได้ง่ายโดยเฉพาะเด็ก และผู้สูงอายุ
A : หน้ากาก N95 เหมาะกับคนที่ทำงานในโรงงานที่มีมลพิษเยอะๆ มีผลกระทบต่อคนที่ได้รับสารพิษหรือพวกที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโดยตรง เช่น คนที่ขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง, พ่อค้า แม่ค้า ที่ขายของริมทาง และคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ส่วนคนทั่วไปหรือคนทำงานออฟฟิศที่ต้องเผชิญกับฝุ่นแค่เป็นบางเวลาหรือแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็สามารถใช้แมสป้องกันได้
ถ้าหากใครมีโรคประจำตัวแล้วไม่แน่ใจว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหรือรับคำแนะนำที่เหมาะสมจะดีที่สุดครับ
กุมารเวชศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ