แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ ให้คำปรึกษา l โรงพยาบาลรามคำแหง

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง

แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลรามคำแหงมุ่งมั่นให้บริการด้านสุขภาพอย่างมีคุณภาพระดับสากล วิชาการทางการแพทย์สมัยใหม่โดยมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยให้บริการฉับไวและครบวงจร พร้อมกับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกฝนเฉพาะของแต่ละวิชาชีพมาเป็นอย่างดีด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง

 

ปัจจุบันสถานการณ์ของโรคในระบบทางเดินอาหารและตับ เริ่มทวีความรุนแรงและเพิ่มความยากลำบากในการรักษาและการดูแล ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้นทั้งทางกายภาพ เช่น อาหาร อากาศ วิถีการดำเนินชีวิตของประชากร และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่กำลังกายเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม

 

โรงพยาบาลรามคำแหงตระหนักถึงสภาพปัญหาดังกล่าว จึงจัดตั้งศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับ เข้ามารองรับสภาพของปัญหานั้นอย่างเป็นระบบครบวงจร และเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชนโดยทั่วไปให้ห่างจากโรคบางโรคได้ โดยใช้ความใส่ใจดูแลตัวเอง ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เฉพาะระบบ และการรักษาที่พบในระยะเริ่มต้น จึงเป็นโอกาสที่ประชาชนทั่วไปจะได้รับความเข้าใจถึงโรคและได้รับการรักษาที่ตรงแนวทาง

 

 

การบริการครบวงจร 

  1. บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาและความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
  2. บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางเดินอาหาร
  3. ตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหารที่ Endoscopy Center ศูนย์ส่องกล้องครบวงจร
  4. รักษาด้วยการผ่าตัด ใช้เทคนิคที่ทันสมัยผ่าตัดโดยการส่องกล้อง Laparoscopic Surgery ครอบคลุมถึงการดูแลฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัด
  5. ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพระบบทางเดินอาหารและฉีดวัคซีนป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคตับอักเสบเอและบี

ศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับ รพ.รามคำแหง ให้บริการฉีดวัคซีนโรคตับอักเสบเอและบี ซึ่งสามารถป้องกันในผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันและมีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีโรคตับในครอบครัว มีอาชีพใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ผู้ป่วยที่ฟอกล้างไต โดยท่านสามารถติดต่อศูนย์เพื่อปรึกษาแพทย์หรือใช้บริการได้ทันที



 

ท่านสามารถพบแพทย์ที่แผนกโรคทางเดินอาหาร โรงพยาบาลรามคำแหง ในกรณีดังนี้ 

 

  • สงสัยว่ามีอาการของโรคในระบบทางเดินอาหาร
  • ต้องการตรวจสอบการทำงานของระบบทางเดินอาหารอย่างละเอียด
  • อาการของโรคทางเดินอาหารที่รักษาอยู่ไม่หายขาด หรือดีขึ้น
  • ต้องการได้รับการยืนยันจากแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย และวิธีการรักษาเพื่อประกอบการตัดสินใจในการรักษา 
  • ต้องการตรวจและรักษาด้วยการส่องกล้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ต้องการคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหาร

 

 

โรคระบบทางเดินอาหาร 

 

  • โรคทางเดินอาหารในเด็ก Pediatric GI 
  • โรคกระเพาะอาหาร Peptic Ulcer
  • โรคลำไส้อักเสบ Colitis
  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร Stomach Cancer
  • โรคมะเร็งหลอดอาหาร Esophageal Cancer
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ Colon Cancer
  • โรคมะเร็งตับ Liver Cancer
  • โรคไวรัสตับอักเสบ Hepatitis
  • โรคตับอักเสบจากพิษสุรา Alcoholic Liver Disease 
  • โรคตับแข็ง Liver Cirrhosis
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร GI Infections
  • ท้องเสีย Gastroenteritis
  • ขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูกเรื้อรัง Irritable Bowel Syndrome, Constipation
  • โรคตับอ่อนอักเสบ Pancreatitis
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี ท่อน้ำดีอักเสบ Gallstones, Cholangitis 
  • โรคมะเร็งในท่อน้ำดี Cholangio Carcinoma

 

เครื่องมือที่ทันสมัย 

 

  1. การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย โดยไม่ต้องดื่มหรือฉีดสารทับรังสี 
    •  Ultrasonography เช่น Ultrasound upper abdomen ตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนบน ได้แก่ ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ม้าม ไต
  2. การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย โดยดื่มหรือฉีดสารทึบรังสี
    • การตรวจ Barium swallowing การตรวจดูการกลืนและการสำลัก ตรวจดูการบีบตัวของหลอดอาหาร ตรวจดูความผิดปกติของหลอดอาหาร
    • การตรวจ Upper GI การตรวจดูระบบการกลืนอาหาร หลอดอาหาร ตรวจดูกระเพาะอาหารทั้งหมด และลำไส้เล็กส่วนต้น
    • การตรวจ Long GI การตรวจดูระบบการกลืนอาหาร ตรวจดูกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กทั้งหมด ดูการอักเสบของลำไส้เล็กและความผิดปกติอื่นๆ
    • การตรวจ BE (Barium Enema) ตรวจดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ 
  3. Computerrised Tomography (Spiral CT Scan) และ Magnetic Resonance Imaging (MRI)​
  4. GI Endoscopy กล้องส่องระบบทางเดินอาหารเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยและผ่าตัด
    • Gastroscopy การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
    • Colonoscopy การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคของลำไส้ใหญ่
    • Sigmoidoscopy การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
    • Polypectomy การตัดเนื้องอกขนาดเล็กในกระเพาะลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหาร
    • EVS, EVL (Endoscopic variceal treatment) การรักษาเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร โดยการฉีดยาหรือรัดเส้นเลือดขอดโดยผ่านการส่องกล้อง
    • PEG (Percutaneous endoscopic gastrostomy) การใส่สายให้อาหารผ่านทางหน้าท้องเข้ากระเพาะอาหาร โดยการส่องกล้องเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด 
    • Diagnostic RECP (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography) การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคของระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนโดยการส่องกล้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด เช่น นิ่วในท่อน้ำดี มะเร็งของท่อน้ำดี ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ฯลฯ
    • Therapeutic ERCP (Sphincterotomy, Stone extraction) การตรวจรักษาท่อน้ำดี เช่น มะเร็งท่อน้ำดี และนิ่วในถุงน้ำดีผ่านการส่องกล้อง ​
  5. GI Pathology การตรวจทางพยาธิสภาพที่แม่นยำ
  6. Intervention Radiology การใช้เทคนิคทางเอกซเรย์ในการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
    • TOCE (Transcatheter oily chemo-embolization) ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่เกินไป มักกระทำโดยรังสีแพทย์ โดยการสอดสายขนาดเล็กเข้าไปทางเส้นเลือดแดงตับ เพื่อเข้าไปถึงก้อนมะเร็งโดยตรงเพื่อใส่ยาเคมีเข้าไปที่ก้อนมะเร็ง พร้อมทั้งอุดเส้นเลือดหลักที่เข้าไปเลี้ยงก้อนมะเร็งด้วยในการรักษาเพื่อยืดเวลา ในบางกรณีเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงและไม่กระจายไปที่อื่น อาจจะผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกเลยก็ได้
    • FNA (Fine needle aspiration) และ Liver Biopsy การดูดและเจาะตับ เพื่อนำเนื้อเยื่อและเซลล์ตับมาวิเคราะห์ ในกรณีที่มีก้อนในตับสงสัยเป็นมะเร็งตับหรือมีการอักเสบของตับ
  7. การตรวจ Urea Breath Test ใช้ในการตรวจการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H.pylori)

ปัจจุบัน พบว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้มะเร็งของกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นการตรวจจากลมหายใจโดยไม่ต้องส่องกล้อง (วัดปริมาณของ 13C)​​

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณอุตสาหะ ต้นอู่สิม

อดีตคนไข้มะเร็งลำไส้

คุณอุตสาหะ ต้นอู่สิม หนึ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เลือกไว้วางใจโรงพยาบาลรามคำแหงมามากว่า 20 ปี ได้เล่าถึงอาการป่วยและการรักษาของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
.
เริ่มแรกคุณอุสาหะมีสัญญาณเตือนที่มาจากอุจจาระขนาดเล็กลง การถ่ายไม่เป็นเวลา และมีมูกเลือดปนออกมานั่นเองครับ ซึ่งเขาคิดว่าเป็นเพียงอาการหนึ่งของริดสีดวงเท่านั้น จึงปล่อยไว้จนถ่ายเป็นเลือด ถึงได้เข้ามาตรวจที่โรงพยาบาล โดยก่อนหน้านี้คุณอุสาหะเคยมีอาการนิ่วในท่อปัสสาวะและมีอาการเจ็บบริเวณนั้นเรื่อย ๆ ร่วมด้วย
.
เมื่อมาถึงหมอได้ทำการวินิจฉัยซักถามและส่องกล้อง ปรากฏว่าตำแหน่งของมะเร็งอยู่ตรงนั้น ใช่เลยกับอาการที่เคยเป็น!! หมอจึงตัดก้อนเนื้อและต่อมน้ำเหลืองบางส่วนออกมาเพื่อนำมาหาการแพร่กระจาย โชคดีนะครับที่ผลจากแลปออกมาคุณอุตสาหะเป็นเพียงมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 จึงทำการรักษาด้วยการผ่าตัดและให้ยาทานเท่านั้น

  • การตรวจสุขภาพตับ สำคัญกว่าที่คิด

  • สัญญาณเตือน แผลในกระเพาะอาหาร

  • H. pylori ตัวการทำให้เกิดแผลและมะเร็งในกระเพาะอาหาร

  • โรคไวรัสตับอักเสบ มีสาเหตุมาจากอะไร

  • อาการแบบไหน.. ที่ลำไส้ผิดปกติ? & อายุ 40+ ยังไม่ถึงวัย แต่ทำไม..ต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่?

  • โรคกรดไหลย้อน ภัยเงียบที่ควรระวัง

  • เทคโนโลยีส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ตรวจเนื้อร้าย

  • อาการท้องเสีย สลับท้องผูก

  • ท้องเสียเรื้อรัง

  • อาการท้องอืด แน่นท้อง

  • โรคกรดไหลย้อน

  • การเตรียมตัวก่อนการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่

  • ส่องกล้องรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณอุตสาหะ ต้นอู่สิม

อดีตคนไข้มะเร็งลำไส้

คุณอุตสาหะ ต้นอู่สิม หนึ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เลือกไว้วางใจโรงพยาบาลรามคำแหงมามากว่า 20 ปี ได้เล่าถึงอาการป่วยและการรักษาของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
.
เริ่มแรกคุณอุสาหะมีสัญญาณเตือนที่มาจากอุจจาระขนาดเล็กลง การถ่ายไม่เป็นเวลา และมีมูกเลือดปนออกมานั่นเองครับ ซึ่งเขาคิดว่าเป็นเพียงอาการหนึ่งของริดสีดวงเท่านั้น จึงปล่อยไว้จนถ่ายเป็นเลือด ถึงได้เข้ามาตรวจที่โรงพยาบาล โดยก่อนหน้านี้คุณอุสาหะเคยมีอาการนิ่วในท่อปัสสาวะและมีอาการเจ็บบริเวณนั้นเรื่อย ๆ ร่วมด้วย
.
เมื่อมาถึงหมอได้ทำการวินิจฉัยซักถามและส่องกล้อง ปรากฏว่าตำแหน่งของมะเร็งอยู่ตรงนั้น ใช่เลยกับอาการที่เคยเป็น!! หมอจึงตัดก้อนเนื้อและต่อมน้ำเหลืองบางส่วนออกมาเพื่อนำมาหาการแพร่กระจาย โชคดีนะครับที่ผลจากแลปออกมาคุณอุตสาหะเป็นเพียงมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 จึงทำการรักษาด้วยการผ่าตัดและให้ยาทานเท่านั้น