เสียงจากผู้รับบริการ

คุณประเสริฐ ตีทอง

 

 

 

ต้องบอกว่าทำ TMS ไปแค่ 2 ครั้ง ใช้เวลาแค่ 2 วัน ชีวิตเปลี่ยนทันที คือเป็นการรักษาที่ทำให้คุณภาพชีวิตเรากลับมาเป็นเหมือนเดิมได้จริงๆ ภายในเวลาแค่ 2 วันเท่านั้นเอง

คุณธิดารัตน์  ตีทอง (ลูกสาวให้ข้อมูล)

มีโรคประจำตัวคือ “ความดันโลหิตสูง” ได้เกิดภาวะอาการทานอาหาร น้ำ หรือแม้กระทั่งนมก็ไม่ได้ ลองฝืนทานหรือดื่มเข้าไปเป็นต้องสำลักและอาเจียนออกมา จึงได้พาไปเข้ารับการรักษาโดยเป็นผู้ป่วยในที่ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่เมื่อหมอให้กลับไปพักอยู่ที่บ้านได้เพียง 2 สัปดาห์อาการเวียนศีรษะก็กลับมารังควานอีก

 “...เรารู้สึกว่าคุณภาพชีวิตมันแย่ หมอก็บอกว่าถ้าคุณพ่อเป็นอย่างนี้ต้องมีคนดูแลนะ เราก็เลยจ้างคนมาคอยดูแล เพราะเวลาเขานั่งอยู่เดี๋ยวๆ ก็มีเสมหะ ก็ต้องประคองเขาลุกขึ้นมา คือต้องมีคนเฝ้าตลอดทั้งคืน บางทีกลางคืนก็จะมีเสียงครืดๆ อยู่ในคอ แล้วพอใส่สายอาหารมาหลายวันก็เริ่มมีแผลกดทับที่ก้นเพราะว่านอนนาน...คือทุกครั้งที่สะอึก ทั้งคนไข้ทั้งญาติก็จะรู้สึกว่า เฮ้ย...อีกแล้วเหรอ เพราะสะอึกแต่ละครั้งใช้เวลาหลายชั่วโมง กว่าจะหยุด ซึ่งทำให้สภาพจิตใจทั้งของคนไข้และญาติแย่ไปหมด เลยมาคิดว่าถ้ากินยาให้หยุดสะอึกไม่หาย ต้องฉีดยาคลายเครียดให้นอนหลับอย่างเดียว รักษาแบบนี้มันไม่น่าจะใช่ เพราะอยู่โรงพยาบาลมา 10 วันไม่มีอะไรดีขึ้นเลย...ทรมานมากทั้งคนไข้และญาติ ก็เลยลองคุยกับหมอที่รู้จักกัน เขาก็แนะนำให้พาคุณพ่อไปหาหมอด้านระบบประสาท เราจึงได้เริ่มหาข้อมูลและเจอว่ามีการรักษาโดยใช้เทคโนโลยี TMS ก็เลยตัดสินใจพาคุณพ่อมาที่ รพ.รามคำแหง และได้มาคุยกับคุณหมออริยาจึงรู้สึกว่าน่าจะเป็นแนวทางการรักษาที่โอเค และสะดวกมากเพราะคนไข้ก็ไม่จำเป็นต้องแอดมิท แค่มาทำ TMS ในวันรุ่งขึ้นตามที่คุณหมอนัด เมื่อทำ TMS ไป 2 ครั้งก็เห็นผลเลยว่าคุณพ่อเริ่มกลืนได้ ที่จริงต้องบอกว่าตั้งแต่ทำครั้งแรกเสร็จแล้วคุณหมอลองให้ทดสอบด้วยการกลืนน้ำคุณพ่อก็เริ่มกลืนได้แล้ว จากที่ก่อนหน้านี้น้ำก็ไม่สามารถกลืนได้เพราะจะสำลักออกมาตลอด เพียงแต่ว่าหลังจากทำครั้งแรก คุณพ่อก็ยังมีอาการเจ็บคอแล้วก็ยังมีเสมหะ เพราะพอใส่สายนานก็เริ่มติดเชื้อ คุณหมอก็เลยให้ยาฆ่าเชื้อไปกิน แล้วอีก 2 วันก็นัดคุณพ่อมาทำ TMS ใหม่ ซึ่งระหว่างรอทำครั้งที่ 2 ก็ได้สั่งอาหารเหลวของโรงพยาบาลให้คุณพ่อผ่านทางสายอาหารไปก่อน แต่พอทำครั้งที่ 2 เสร็จก็สามารถถอดสายอาหารได้เลย เพราะคุณพ่อกลับมากลืนได้ เริ่มกินข้าวต้มได้ แต่ตอนนั้นคุณหมอก็บอกไว้ว่าเวลากลืนให้ก้มหน้า แต่คุณพ่อก็ไม่มีปัญหาเรื่องสำลักอีกเลย ซึ่งทั้งคนไข้ทั้งญาติดีใจกันมาก พอทำครั้งที่ 3 ก็สามารถลุกขึ้นนั่งบนที่นอนได้ เพียงแต่ว่ายังต้องมีคนพยุง และยังต้องใช้ Walker เวลาจะเดิน แต่ตอนนี้เสียงก็ดีขึ้นจากที่เสียงแหบ พูดแล้วไม่ได้ยินเสียงเลย ตอนนี้คุยโทรศัพท์ได้ โทรหาเพื่อนได้แล้วค่ะ...”

พญ.อริยา ทิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท รพ.รามคำแหง อธิบายว่า "ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบบริเวณก้านสมอง" ส่งผลให้เกิดภาวะอาการทานอาหารหรือดื่มน้ำดื่มนมไม่ได้เลยเพราะจะเกิดการสำลัก อันเป็นผลจากกรณีที่ “สารสื่อประสาทในสมองที่ควบคุมเส้นเสียงไม่ทำงาน” ทำให้ “เส้นเสียงไม่ปิด” ที่มีสาเหตุจากเส้นเลือดตีบและส่งผลต่อระบบประสาท ซึ่งหากกลืนแล้วสำลักออกมาอาจเป็นอันตรายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อลงปอด แพทย์จึงต้องใส่สายให้อาหารผ่านจากรูจมูกลงไปที่กระเพาะเพื่อป้องกันการสำลัก “...นอกจากนี้คนไข้ก็ไม่มีเสียง ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ทรงตัวลำบาก เพราะตำแหน่งที่มีเส้นเลือดตีบที่ก้านสมองจะควบคุมเรื่องการกลืน การสำลัก การสะอึก การพูด แล้วก็การทรงตัวโดยตรง แล้วพอมารับการกระตุ้นโดยใช้เทคโน ฯ TMS ครั้งแรกก็กลับมามีเสียงเลย  คือมีการตอบสนองดีมาก...ลูกๆ ของคุณประเสริฐเองก็อยากให้ได้รับการรักษาด้วย TMS โดยอยากให้หมอช่วยกระตุ้นเรื่องการกลืนให้ แต่เคสคุณประเสริฐพอกระตุ้นด้วย TMS ไปครั้งที่ 1 ก็สามารถพูดได้เลย และมีแนวโน้มว่าจะสามารถกินอาหารได้ตั้งแต่ครั้งแรก ก็เป็นเคสที่ถือโชคดีด้วย...”

คุณอิทธิศักดิ์ เอกศักดิ์

 

2 วันผ่านไปก็ไม่ปวดแล้ว แต่ได้พักการใช้แขนโดยค่อยๆ ขยับทีละน้อย

 

“คุณอิทธิศักดิ์” จะรู้สึกเจ็บตอนยกแขนโดยที่ความเจ็บเพิ่มขึ้นเรื่อยจนยกอะไรไม่ได้ เพราะขืนยกขึ้นเมื่อไหร่เป็นแปล๊บขึ้นมาทันที คุณหมอส่งเข้ารับการตรวจสแกนด้วย MRI ก็เห็นจากภาพที่ปรากฏชัดว่ามีกระดูกงอกเป็นรูปเขี้ยว

“...คุณหมอได้ให้ลองฉีดยาดูก่อน ถ้าหายก็ไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้าไม่ดีขึ้นค่อยมาผ่า... แล้วก็ไม่หายจึงไปหาคุณหมอสิริศักดิ์ ซึ่งพบทั้งเส้นเอ็นขาดและกระดูกยื่นมากดทับ ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง นอกจากจะช่วยซ่อมแซมเส้นเอ็นข้อไหล่ที่ฉีกขาดได้แล้วยังสามารถเข้าไปกรอกระดูกที่ยื่นลงมากดทับเส้นเอ็นข้อไหล่ได้ด้วย หลังจากนั้นอีก 2 วันก็ผ่าตัดเลย... เจ็บแผลผ่าตัดอยู่แค่ 2 วันตอนที่นอนอยู่ในโรงพยาบาลพอ 2 วันผ่านไปก็ไม่ปวดแล้ว แต่ได้พักการใช้แขนโดยค่อยๆ ขยับทีละน้อย ตอนนี้ผ่านมา 8 เดือนก็เริ่มหายดี  ตอนนี้ยกแขนได้เท่ากันทั้ง 2 ข้าง สามารถแกว่งหมุนอะไรได้หมด”

 

 

 

คุณเกียรติ อัสรางชัย

 

ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ

 

 

"....พอได้มาออกกำลังกายแบบนี้ก็มั่นใจขึ้นว่าจะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นลมหมดสติ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้…."

 

มี “ความดันโลหิตสูง” เป็นโรคประจำตัวมานานกว่า 20 ปีแล้วโดยทานยาลดความดันฯ มาตลอด แล้วก็พบว่าเส้นเลือดหัวใจรวม 3 เส้นได้ตีบตันไปราวๆ 75 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จึงได้เข้ารับการรักษาด้วยการ “ทำบอลลูนขยายเส้นเลือด” ซึ่งทำได้เพียงเส้นเดียวเพราะอีก 2 เส้นมีลักษณะคดโค้งและคุณหมอเห็นว่าอายุมากเกรงว่าจะมีความเสี่ยง จึงพาคุณพ่อไปปรึกษาที่ “รพ.รามคำแหง” ส่งผลให้ได้รับการทำบอลลูนอีก 2 ตำแหน่งและผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย...หลังจากนั้นราวครึ่งเดือนได้เข้าคอร์สฟื้นฟูที่ แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด” ซึ่งเป็นขั้นตอนอีกอย่างหนึ่งหลังจากได้รับการรักษาจนมีอาการดีขึ้นแล้วด้วยเหตุผลคือ...เพื่อให้สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตได้ตามปกติ ช่วยเหลือ ดูแลตัวเองได้ดีขึ้น และสามารถควบคุมโรคได้ในระดับที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการกลับไปเกิดโรคซ้ำ...

 

“...แต่ละครั้ง อ.สิทธาจะให้ผมออกกำลังกายที่พอเหมาะกับร่างกาย ไม่เหนื่อยเกินไป แล้วก็พอที่ผมจะสามารถทำได้...นอกจากเดินก็ให้ขี่จักรยานออกกำลังขา ให้เดินสายพานในจังหวะที่เร็วกว่าผมเดินเองที่บ้าน เพื่อให้ผมก้าวขาได้ดีขึ้น แล้วก็มีให้ออกกำลังแขนโดยการดึงยางยืด ยืดเข้ายืดออก เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนและไหล่แข็งแรงขึ้นด้วย แต่ละอย่างก็ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ก่อนหน้านี้ผมไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อน พอได้มาออกกำลังกายแบบนี้ก็มั่นใจขึ้นว่าจะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นลมหมดสติ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ตอนนี้มั่นใจว่าความดันไม่สูงมาก ก็จะทำให้การทำงานของหัวใจไม่หนักเกินไป...ยังคิดว่าจบคอร์สนี้แล้วจะต่ออีกสักคอร์ส คือมาทำ 6 ครั้งๆ ละประมาณ 50 นาที แต่ทำแล้วรู้สึกว่าได้ผลดีจริงๆ ครับ...”

 

ในด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด, การออกกำลังกายเพื่อรักษาโรค, วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย รพ.รามคำแหง ระบุว่าอยู่ที่ประมาณ 2-3 เดือน โดยจะมีการประเมินเป็นระยะว่าผู้ป่วยสามารถออกกำลังกาย หรือใช้แรงในระดับที่เหมาะสมได้อย่างปลอดภัยแล้วจริงๆ รวมถึงหัวใจและปอดมีการทำงานที่ดีขึ้นแล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจที่จะไปออกกำลังกายหรือใช้ชีวิตตามปกติของตนเองได้ “...การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ต้องออกแบบและวางแผนร่วมกันระหว่างแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย กับผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยกันพิจารณาพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายว่าควรออกกำลังกายแบบใด ด้วยอุปกรณ์ชนิดใด ใช้ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งนานเท่าใด ทั้งนี้ยังต้องมีการติดอุปกรณ์ติดตามผลการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต รวมถึงการตอบสนองของร่างกายว่าเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่อย่างใกล้ชิดไปพร้อมกัน เพราะบางกรณี เช่น คนที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอาจเกิดความผิดปกติเมื่อออกกำลังกาย หรือ คนที่เคยหัวใจวายมาก่อน เวลาออกกำลังกายไปถึงจุดหนึ่งแล้วหัวใจอาจจะขาด แรงปั๊มที่ดีทำให้ความดันตก ก็ต้องมีการปรับลดกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม คือต้องดูกราฟหัวใจให้ค่อยๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ ความดันก็ต้องค่อยไต่ขึ้นไป ไม่สูงมาก และไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด...ที่สำคัญอีกคือ... “ต้องมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที”