ทพญ. ณัฏฐยา จันทรัศมี
ทันตกรรมจัดฟัน
ในครั้งแรกที่มาพบทันตแพทย์จัดฟันเพื่อรับทราบข้อมูลรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการจัดฟัน เพื่อให้ผู้ป่วยนำไปพิจารณาในการตัดสินใจจัดฟันโดยทันตแพทย์จะตรวจสภาพฟัน เพื่อดูว่าผู้ป่วยควรได้รับการจัดฟันหรือไม่
การจัดฟันจะสามารถแก้ปัญหาฟันของผู้ป่วยได้ ทันตแพทย์ก็จะทำการพิมพ์ฟัน เพื่อทำแบบจำลองการสบฟัน เอ็กซเรย์กะโหลกศรีษะและใบหน้า รวมทั้งถ่ายภาพ เพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนในช่องปาก และนำข้อมูลทั้งหมดไปใช้ในการวางแผนการรักษาในการจัดฟัน
ทันตแพทย์ต้องเก็บงานช่องปากให้เรียบร้อย เช่น ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน รักษารากฟัน หรือ ผ่าฟันคุด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของสุขภาพช่องปากและฟัน ก่อนที่จะทำการติดเครื่องมือจัดฟัน เพราะถ้าได้ติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้ว แล้วต้องทำการอุดฟัน หรือ ทำการรักษาฟันใดๆ จะทำให้การรักษานั้นยุ่งยาก และทำด้วยความลำบากมากยิ่งขึ้น และเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาฟันผุหรือเหงือกอักเสบ ในระหว่างการจัดฟัน
ขั้นตอนนี้จะไม่มีความเจ็บปวด แต่หลังจากติดเครื่องมือไป ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกปวดตึง เนื่องจากอุปกรณ์จัดฟันนั้นจะทำหน้าที่ขยับฟันหรือดึงฟัน เพื่อย้ายตำแหน่งไปยังจุดที่ต้องการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งถ้าปวดมากในระยะแรก ก็สามารถทานยาแก้ปวดได้
ควรแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ รวมทั้งทำความเข้าใจถึงข้อแนะนำและข้อห้ามระหว่างที่จัดฟัน เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปตามแผนการรักษาในระยะเวลาที่ทันตแพทย์ได้วางแผนไว้
ทันตแพทย์จะนัดหมายเพื่อปรับอุปกรณ์เป็นระยะ ตามแต่ช่วงเวลาและความเหมาะสม (โดยทั่วไปเดือนละ 1 ครั้ง) ซึ่งผู้ป่วยควรต้องมาให้ตรงตามนัด เพื่อให้แผนการรักษาไม่คลาดเคลื่อนและได้ผลที่ดีที่สุด
แก้ไข
13/09/2566
ทันตกรรมจัดฟัน