พญ. สโรบล เจาฑะเกษตริน
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โรคไข้เลือดออกปัจจุบันนี้ มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าสมัยก่อน (หลังจากที่ไทยเรามีการรณรงค์ปราบยุงลายกันมาตลอด 20 ปี) สถานการณ์ไข้เลือดออกในปีระบาดหนัก สูงสุดในรอบ 5 ปี พบผู้ป่วยแล้วกว่า 54,000 ราย พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึงสัปดาห์ละ 7,000 ราย เสียชีวิตแล้ว 44 ราย ซึ่งมากกว่าปีที่แล้ว (2022) ถึง 3 เท่า
เชื้อไวรัสไข้เลือดออกนั้นมีถึง 4 ชนิด ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปจากครั้งแรกก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปอาการของโรคครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก
เมื่อติดเชื้อครั้งที่ 2 แล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทานในระดับที่สูงมากและป้องกันข้ามสายพันธุ์ได้ โอกาสติดเชื้อครั้งที่ 3 และ 4 น้อยลงมาก ส่วนใหญ่เป็นแค่ 2 ครั้ง ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะอยู่ยาวนานหรือตลอดไป
ขณะที่ไข้หวัดใหญ่จะมีไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หนาวสั่น ไอ คัดจมูก อ่อนเพลีย ปวดตามเนื้อตัวและเบื่ออาหาร
มีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่ายหรือซึมลง มือเท้าเย็นพร้อมๆ กับไข้ลดลง หน้ามืด เป็นลมง่าย หากเป็นดังนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีเพราะเป็นอาการที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ในรายที่ไม่รุนแรงก็ควรเข้าพบแพทย์เช่นกัน เนื่องจากอาการของโรคอาจทวีรุนแรงขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
เนื่องจากโรคไข้เลือดออกสามารถติดซ้ำได้หลายครั้ง เพราะไวรัสเดงกีที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกมีถึง 4 สายพันธุ์ หากติดเชื้อสักสายพันธุ์หนึ่ง ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้เฉพาะสายพันธุ์นั้น ๆ และสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรครุนแรงได้ การรับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจึงช่วยลดโอกาสติดเชื้อ ทั้งยังทอนความรุนแรงของโรคให้เบาลง
โรคไข้เลือดออกสามารถติดได้ทุกเพศวัย อย่างไรก็ตาม คนบางกลุ่มที่มีสุขภาพเปราะบางต้องระวัง ได้แก่
โรคไข้เลือดออกสามารถติดได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอายุ พบว่าไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มีความเสี่ยงในการป้องกันโรคไข้เลืออดออกรุนแรงได้เหมือนกัน ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีการระบาด คือ ประเทศไทย จึงควรได้รับวัคซีนในการป้องกันตนเองจากโรคนี้
แก้ไข
20/10/2566
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ