แนวทางป้องกันแผลเบาหวาน พร้อมตอบคำถาม แผลจะรักษาหายขาดไหม

February 12 / 2024

แผลเบาหวาน

 

 

ภาวะหลอดเลือดที่ขาตีบตัน เป็นภัยเงียบที่มักคุกคามชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวาน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไขมันที่ไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดอักเสบ เกิดเป็นพังผืดและมีแคลเซียมสะสมจนเส้นเลือดตีบตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาไม่เพียงพอ เมื่อมีแผลเบาหวาน แล้วผู้ป่วยจึงมักไม่รู้สึก แผลหายยาก เกิดเป็นเนื้อตายดำ ๆ ที่เท้า

 

 

 

 

โรคเบาหวานที่เท้า

 

วิธีการรักษาโรคเบาหวานที่เท้า

การตัดเนื้อตาย หรือตัดนิ้วเท้าเพียงอย่างเดียว มักไม่สามารถทำให้แผลหายขาด แต่กลับทำให้แผลลุกลามมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบัน การรักษาแผลเบาหวานที่เท้าที่มีสาเหตุมาจากภาวะหลอดเลือดตีบตันสามารถทำได้หลายวิธี และมีความปลอดภัย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีการตีบตันเพียงเล็กน้อย อาจสามารถรักษาได้ด้วยการทานยา ส่วนในกรณีที่โรคเริ่มมีความรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาการสอดสายสวนขยายหลอดเลือด หรือการผ่าตัดทำ Bypass หลอดเลือดเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงที่ขา ซึ่งสามารถทำได้แม้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการตีบตันของหลอดเลือดเป็นระยะทางยาว ๆ โดยวิธีเหล่านี้ เป็นเทคโนโลยีการแพทย์ที่น่าเชื่อถือ และทันสมัย ทำให้เลือดกลับมาไหลเวียนเป็นปกติได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด หรือสูญเสียอวัยวะ

 

แผลเบาหวานที่เท้า

ดูแลเท้าอย่างไร ไม่ให้เกิดแผลเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรพึงระวัง และใส่ใจดูแลเท้าเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันโอกาสในการสูญเสียอวัยวะด้วยการปฏิบัติตามวิธีง่าย ๆ ดังนี้

 

  1. หมั่นล้างเท้า และซอกนิ้วด้วยสบู่และน้ำสะอาด และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง
  2. เลือกซื้อรองเท้าที่มีขนาดเหมาะสมกับเท้า โดยควรเลือกซื้อในช่วงบ่ายเนื่องจากเท้าขยายตัวเต็มที่
  3. ตัดเล็บเท้าตามแนวของเล็บ ไม่ควรปล่อยให้สั้นหรือยาวเกินไป และระวังไม่ให้เกิดบาดแผลขณะตัดเล็บ
  4. ควรสวมถุงเท้าอยู่เสมอ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของเท้า และป้องกันการเสียดสี
  5. หากผิวแห้ง ควรทาครีมบาง ๆ บริเวณเท้า แต่ควรเว้นบริเวณง้ามหรือซอกนิ้ว เพื่อป้องกันการอับชื้น
  6. หมั่นตรวจเท้าทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า
  7. ตรวจสอบรองเท้าก่อนสวมใส่ทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในรองเท้า
  8. เข้ารับการตรวจเท้า โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นระยะ
  9. หากเกิดบาดแผล ควรรีบทำความสะอาดเบื้องต้น และรีบพบแพทย์โดยเร็ว

 

 

การป้องกันแผลเบาหวาน

 

เปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพื่อดูแล ‘แผลเบาหวาน’

แม้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะสามารถรับประทานอาหารโดยส่วนใหญ่ได้เหมือนคนทั่วไปแต่การเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกชนิดของอาหาร และการกำหนดปริมาณให้เหมาะสม ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น

กลุ่มพืชผักต่าง ๆ

ควรเน้นผักใบเขียวที่มีเส้นใยสูง และให้สารอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลน้อย ซึ่งจะช่วยในกระบวนการขัดขวางและชะลอการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาด มะระ พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

กลุ่มผลไม้

ควรเลือกผลไม้ที่มีรสหวานน้อย และมีเส้นใยมาก เช่น ฝรั่ง มะละกอ แอปเปิ้ล ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ชมพู่ เป็นต้น โดยกำหนดปริมาณ 3-4 ส่วน/วัน

กลุ่มนม

ควรดื่มนมรสจืด นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย หรือนมถั่วเหลือง โดยเลือกสูตรไม่มีน้ำตาล ควรดื่มไม่เกิน 1-2 แก้ว/วัน (ปริมาณ 250 ซีซี)

กลุ่มข้าว แป้ง และธัญพืช

ควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการแปรรูปมาก เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีต โดยกำหนดให้ไม่เกิน 8-9 ทัพพี/วัน และควรหลีกเลี่ยงขนมหวาน รวมถึงระมัดระวังสารให้ความหวานหรือน้ำตาลเทียม เพราะอาจส่งผลให้ร่างกายอยากน้ำตาลมากยิ่งขึ้น

กลุ่มเนื้อสัตว์

ควรเน้นรับประทาน เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง โดยกำหนดปริมาณไม่เกิน 12 ช้อนโต๊ะ/วัน และหากผู้ป่วยไม่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง สามารถรับประทานไข่ได้ โดยกำหนดให้ไม่เกินวันละ 2-3 ฟอง

กลุ่มไขมัน

ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงจากไขมันดี เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด และไม่ควรับประทานเกิน 6-7 ช้อนชา/วัน

 

 

ดูแลแผลเบาหวาน

 

ดูแล ‘แผลเบาหวาน’ อย่างไร ไม่ให้เสี่ยงตัดอวัยวะ

นอกจากผู้ป่วยเบาหวานจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่เกณฑ์ปกติแล้ว ก็ควรระวังไม่ให้เกิดบาดแผลใด ๆ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเกิดบาดแผลขึ้น ก็ควรหมั่นดูแลและติดตามอาการของแผลเบาหวานด้วยตัวเองอย่างเคร่งครัด ดังนี้

 

  • ดูแลความสะอาด

    ควรหมั่นทำความสะอาดแผล วันละ 2-4 ครั้ง ด้วยสบู่ น้ำอุ่น หรือน้ำเกลือ และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดแผล เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นอันตรายต่อแผล

  • ปิดแผลให้แห้งสนิท

    เมื่อทำความสะอาดแผลและเช็ดให้แห้งสนิทแล้ว ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ปิดแผลให้สนิท และระวังอย่าให้แผลโดนน้ำโดยเด็ดขาด

  • คอยระวัง และหมั่นสังเกตบาดแผล

    หากพบความผิดปกติที่บริเวณบาดแผล เช่น มีอาการปวด บวม หรือมีน้ำเหลือง โดยเฉพาะแผลมีหนอง ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อรุนแรง

  • ใส่ใจแผลกดทับ

    เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการตายของเนื้อเยื่อที่เกิดจากแผลกดทับ ควรระมัดระวังไม่ให้แผลถูกกดทับนานเกิน 2 ชั่วโมง และควรหมั่นทำความสะอาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ จากนั้นปิดแผลที่แห้งสนิทด้วยผ้าปิดแผลที่ฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น

 

 

แพ็กเกจคัดกรองเบาหวาน

 

แพ็กเกจคัดกรองเบาหวาน โรงพยาบาลรามคำแหง

แพ็กเกจคัดกรองเบาหวาน โรงพยาบาลรามคำแหง Diabetic care package แพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 4,890 บาท

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

แพ็กเกจคลอดบุตรแบบธ​รรมชาติเหมาจ่าย แม่สุขใจ ลูกรักปลอดภัย

คลอดธรรมชาติสบายใจได้ในความปลอดภัยและคุ้มค่า พร้อมการดูแลครอบคลุมแบบเหมาๆ

ราคา 52,000 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพสตรี ตรวจภายใน ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่ป้องกันได้

ราคา 1,800 บาท

Healthy heart package (ผู้ชาย)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้ชาย)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

“Healthy start program” โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ดูแลหัวใจและปอดของคุณและคนที่คุณรัก ด้วยโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ราคา 3,000 บาท

บริการอุปกรณ์ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พกพาได้

ติดตามการเต้นของหัวใจแบบทางไกล เหมาะกับใครบ้าง ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ พบอาการไม่บ่อยเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยวิธีตรวจอื่นๆ

ราคา 12,000 บาท