อย่าชะล่าใจเด็ดขาด หากคุณกำลังมีอาการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

May 06 / 2024

 

 

แผลเบาหวาน

 

 

หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเมื่อได้ยินเสียงเบส หรือเสียงกลองที่ฟังดูรัว ๆ ทำให้หัวใจเราเต้นเป็นจังหวะนั้น ๆ ตามไปด้วย จนในบางครั้งเกิดนึกสงสัยว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือเปล่า ในความเป็นจริงแล้ว หัวใจไม่สามารถเต้นเป็นจังหวะตามเสียงเพลงได้อย่างที่เรารู้สึก โดยการเต้นของหัวใจจะขึ้นอยู่กับอิริยาบถ และสภาวะอารมณ์ของเราเองในขณะนั้น ๆ ซึ่งเราสามารถตรวจเช็กการเต้นของหัวใจเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ด้วยการจับชีพจร และเมื่อใดหากพบว่าตัวเองเริ่มมีอาการใจสั่น แม้ขณะนั่งพักและอยู่ในอารมณ์ปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งนับเป็นภัยเงียบที่ควรเช็กให้ชัวร์ ก่อนจะสายเกินแก้

 

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร

 

 

ทำความรู้จักกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ หรือเป็นความผิดปกติของการนำไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งในบางกรณีอาจเกิดจากความผิดปกติทั้งสองก็ได้ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้ จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นช้า (น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที) หรือเร็วผิดปกติ (มากกว่า 100 ครั้ง/นาที) หรือในบางกรณีอาจเต้นไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เต้นเร็วสลับช้า ซึ่งอาการของโรคมักแตกต่างไปตามสาเหตุการเกิดโรคในแต่ละบุคคล ซึ่งในบางประเภทอาจไม่เป็นอันตราย แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือโรคอื่น ๆ ตามมา และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุ

 

 

สาเหตุหลักของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สาเหตุหลักของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น ในบางครั้ง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจก็สามารถเกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีสาเหตุ แต่โดยทั่วไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมักเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

การมีโรคประจำตัว

การมีโรคประจำตัว อาทิ โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง หรือโรคนอนกรนร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น

โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดหวะ ซึ่งประกอบด้วย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

การใช้ยาบางประเภท

การใช้ยาบางประเภท หรือ การรับประทานยาบางชนิด อาจส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ เช่น ยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน ยาขยายหลอดลม รวมถึงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์คลายความเครียดและความวิตกกังวล

การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน

การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนที่มากเกินไป รวมถึงเครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การใช้ยาลดน้ำหนัก

การใช้ยาลดน้ำหนัก แม้ว่าจะเป็นการใช้ยาที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน (Sibutramine) ที่สามารถช่วยลดความอยากอาหารและเร่งการเผาผลาญของร่างกายได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็สามารถทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น เจ็บหน้าอก และจากการศึกษาพบว่า ยาชนิดนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตรก (Stroke) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

พันธุกรรม

พันธุกรรม เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะรวมถึงโรคหัวใจอื่น ๆ บางประเภทได้เช่นกัน

 

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีเช็ก

 

 

จะเช็กได้อย่างไร ว่าหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

สำหรับผู้ที่สงสัยว่า จะเช็กได้อย่างไร ว่าหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อาจเริ่มต้นจากการวินิจฉัยง่าย ๆ ด้วยการจับชีพจรตนเอง และหากพบว่าชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นรัวเร็ว หรือช้าจนเกินไป ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาใช้วิธีการตรวจต่าง ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography หรือ EKG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography หรือ EKG) คือ การติดขั้วไฟฟ้าบนผิวหนังเพื่อบันทึกจังหวะการเต้นและกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ โดยสัญญาณเหล่านี้จะถูกบันทึกโดยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสามารถพิมพ์ออกมาในรูปแบบกระดาษเพื่อให้แพทย์ประเมินได้อย่างถูกต้อง นับเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากโดยเฉพาะเมื่อตรวจในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการ

การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ EST (Exercise Stress Test)

การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ EST (Exercise Stress Test) คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะทำงานหนักด้วยการออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพาน (Treadmill) หรือการปั่นจักรยาน (Cycling) ซึ่งวิธีนี้จ ะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบการตอบสนองที่ผิดปกติ อาทิ อาการหายใจลำบาก อาการเจ็บแน่นหน้าอก การเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) หรือที่เรียกกันว่า การทำเอคโค่หัวใจ (Echo) เป็นการตรวจเพื่อประเมินประสิทธิภาพของหัวใจโดยใช้ข้อมูลที่ถูกแปลเป็นภาพบนจอมอนิเตอร์ที่แสดงให้เห็นถึงรูปร่าง ขนาด และการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติ รวมถึงการบีบและคลายตัวของหัวใจอีกด้วย

เครื่องบันทึกสัญญาณไฟฟ้าแบบพกพา (Event Recorder)

เครื่องบันทึกสัญญาณไฟฟ้าแบบพกพา (Event Recorder) มีลักษณะคล้ายโทรศัพท์มือถือ ผู้ป่วยสามารถพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ โดยที่เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการ ก็สามารถนำมาทาบที่หน้าอกเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ข้อมูลที่ตรวจพบจะถูกส่งไปยังโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยละเอียด นับเป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่บ่อยครั้ง

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่อง (Holter Monitor)

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitor) เป็นวิธีการตรวจที่ใช้บ่อยสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการใจสั่น หรือเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงนี้หรือนานกว่านั้นไว้กับตัวเพื่อบันทึกการเต้นของหัวใจและตรวจหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ โดยที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปพักที่บ้านหรือทำงานได้ตามปกติ

เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดฝังใต้ผิวหนัง (Implantable Loop Recorder)

เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดฝังใต้ผิวหนัง (Implantable Loop Recorder เป็นวิธีการฝังเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่องไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้ายของผู้ป่วย เพื่อใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั้งในภาวะหัวใจเต้นปกติและเต้นผิดจังหวะ โดยเครื่องดังกล่าวนี้สามารถบันทึกข้อมูลได้นาน 2-3 ปี ทำให้สามารถติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ตลอดเวลา เหมาะกับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่บ่อย

การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study หรือ EP Study)

การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study หรือ EP Study) ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจหาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติด้วยวิธีอื่น ๆ แพทย์จะทำการตรวจการทำงานของระบบไฟฟ้าหัวใจด้วยการกระตุ้นให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติขึ้น เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการ

แพ็กเกจคัดกรองโรคหัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

แพ็กเกจคัดกรองโรคหัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง ได้แก่

 

 

Healthy Heart package

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy Heart package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 5,990

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy Heart package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 5,990

 

 

Healthy Heart Plus package

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy Heart Plus package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 6,990

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy Heart Plus package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 6,990

 

 

Advanced Intensive Heart package

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive Heart package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 9,990

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive Heart package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 9,990

 

 

Advanced Intensive Heart Plus package

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive Heart Plus package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 14,990

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive Heart Plus package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 14,990

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

แพ็กเกจตรวจการนอนหลับ เช็คอัพปัญหาสุขภาพ l รพ.รามคำแหง

วิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ใน​ร่างกายระหว่างที่คุณนอนหลับ โดยแพทย์เฉพาะทาง

ราคา 11,000 บาท

แพ็กเกจคลอดบุตรแบบธ​รรมชาติเหมาจ่าย แม่สุขใจ ลูกรักปลอดภัย

คลอดธรรมชาติสบายใจได้ในความปลอดภัยและคุ้มค่า พร้อมการดูแลครอบคลุมแบบเหมาๆ

ราคา 52,000 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพสตรี ตรวจภายใน ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่ป้องกันได้

ราคา 1,800 บาท

Healthy heart package (ผู้ชาย)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้ชาย)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

“Healthy start program” โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ดูแลหัวใจและปอดของคุณและคนที่คุณรัก ด้วยโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ราคา 3,000 บาท