"พูดไม่ออก บอกไม่ถูก" ระวังเสี่ยงภาวะเสียการสื่อภาษา

December 13 / 2023

 

"พูดไม่ออก บอกไม่ถูก คุยไม่รู้เรื่อง" เสี่ยงภาวะเสียการสื่อภาษา

 

 

ภาวะเสียการสื่อภาษาหรือ Aphasia เป็นความผิดปกติทางการสื่อสาร ซึ่งมักเป็นผลมาจากสมองได้รับความเสียหายจากภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ แตก การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือความผิดปกติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับสมองส่วนใช้ภาษา ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในด้านทักษะของการสื่อสารและการใช้ภาษา ไม่สามารถโต้ตอบหรือทำความเข้าใจได้ และอาจมีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนร่วมด้วย

 

 

สาเหตุของภาวะเสียการสื่อภาษา

ภาวะเสียการสื่อภาษาเป็นผลมาจากการที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ภาษาได้รับความเสียหาย อาทิ

  • โรคทางสมองเส้นเลือดในสมองแตก/ตีบ เนื้องอก ติดเชื้อในสมอง สมองเสื่อม
  • สมองได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ
  • เคยเข้ารับการผ่าตัดสมอง

 

 

อาการของภาวะเสียการสื่อภาษา

ภาวะเสียการสื่อภาษาในแต่ละบุคคลจะมีอาการที่แตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับบริเวณที่สมองได้รับความเสียหายและระดับความรุนแรงของความเสียหายนั้น ภาวะนี้ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาต่อการพูด การทำความเข้าใจ การอ่าน การเขียน การสื่อสารและการรับสาร เช่น

  • พูดไม่ได้ สื่อสารไม่ได้แม้กระทั่งการใช้ภาษากาย
  • ฟังคำพูดไม่เข้าใจ ตอบไม่ตรงคำถาม
  • พูดไม่ชัด
  • การนึกคำพูดลำบาก
  • บอกความต้องการไม่ได้ บอกชื่อสิ่งของที่ใช้ไม่ได้ ลืมชื่อคนในครอบครัว
  • ทำตามคำสั่งไม่ได้
  • พูดตามไม่ได้
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหวอวัยวะในการพูด ปาก ลิ้น ขากรรไกร

 

 

 

การป้องกันภาวะเสียการสื่อภาษา

การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเสียการสื่อภาษา สามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สร้างความเสียหายต่อสมองและดูแลสุขภาพของสมองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีโซเดียมและไขมันต่ำ
  • งดการสูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมและเท่าที่จำเป็น
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตและไขมันในเลือด
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนโลหิต ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • หากสงสัยว่ามีอาการของภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด รวมถึงหากมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาอาการเช่นกัน

 

 

 

หากสงสัยว่ามีอาการของภาวะเส้นเลือดในสมองแตกและภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรักษาอาการ

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

นพ.พชร ลี้มิ่งสวัสดิ์

อายุรศาสตร์ สาขาประสาทวิทยา

 

 

แก้ไข

31/08/2565

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

ผ่าตัดเหมาจ่ายต้อกระจก

ต้อกระจกเกิดจากการขุ่นมัวของเลนส์แก้วตา สามารถรักษาให้มองเห็นได้ โดยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตา

ราคา 31,300-98,500 บาท

แพ็กเกจศูนย์หัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ แบบไม่ต้องผ่าตัด

ราคา 33,000-120,000 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Platinum Check up สำหรับกลุ่มสุภาพสตรี

แพ็กเกจตรวจสุขภาพ RAM Platinum รายละเอียด เช่น การตรวจหัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับการตรวจหาแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือด ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เป็นต้น

ราคา 30,990 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (High Dose Flu Vaccine For Elderly)

ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 24.2%

ราคา 2,400 บาท