ต้อกระจกไม่ได้เกิดแค่ในผู้สูงอายุ ทำงานหน้าจอนาน ๆ ระวังเป็น

October 15 / 2024

ต้อกระจก

 

     “ต้อกระจก” มักถูกมองว่าเป็นโรคของผู้สูงอายุ แต่รู้หรือไม่ว่า วัยทำงานก็มีความเสี่ยงเป็นต้อกระจก ได้เช่นกัน จริงอยู่ว่า “อายุ” เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดต้อกระจก (80% ของผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ) แต่พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของวัยทำงานก็ส่งผลต่อความเสี่ยงนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะการใช้สายตาในการทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือนานเกิน 3 ชั่วโมงต่อวัน ที่เพิ่มความเสี่ยงให้เป็นต้อกระจกก่อนวัย ถึง 2 เท่า!

 

ต้อกระจก
 

 

ทำไม?...การจ้องจอถึงส่งผลต่อดวงตา

  • แสงสีฟ้าจากหน้าจอ ส่งผลต่อจอประสาทตา ทำให้เกิดอาการตาแห้ง ตาพร่ามัว
  • การจ้องจอ ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก เกิดอาการปวดตา มองภาพซ้อน
  • การกระพริบตา ลดลง 60% ทำให้น้ำตาไม่กระจายทั่ว เกิดอาการตาแห้ง

 

ต้อกระจก

 

 

ปัจจัยเสี่ยงอื่นเร่งเป็น “ต้อกระจก” ก่อนวัย

  • การมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
  • โรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์
  • อุบัติเหตุ เชื่อมโลหะไม่สวมอุปกรณ์ป้องกัน หรือเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ แล้วเศษกระจกทิ่มตา
  • พฤติกรรม สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำ
  • แสงแดด ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานานๆ หรือดวงตาถูกแสงแดดจ้าเป็นประจำ
  • ยาบางชนิด ยากลุ่มสเตียรอยด์ ที่มักใช้ในการรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคข้อ โรคไต
  • ความผิดปกติของตา ตาติดเชื้อ ม่านตาอักเสบ

 

 

5 วิธีดูแลดวงตาง่าย ๆ

1.  พักสายตาเป็นประจำ

  • ทุก ๆ 1 ชั่วโมง พักสายตา 5-10 นาที
  • เปลี่ยนจุดโฟกัส มองออกไปไกลๆ เพื่อละสายตาจากหน้าจอ

 

2.  ปรับแสงสว่างให้เหมาะสม

  • ปรับแสงหน้าจอให้พอเหมาะ ไม่สว่างหรือมืดจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงแสงสว่างจ้าสะท้อนเข้าตา

 

3.  ปรับท่าทางการนั่ง

  • ศีรษะควรอยู่สูงกว่าจอคอมพิวเตอร์เล็กน้อย
  • หลีกเลี่ยงการเงยหน้ามองจอ

 

4.  บรรเทาอาการตาแห้ง

  • กะพริบตาบ่อยขึ้น
  • ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา

 

5.  ใส่แว่นตาที่เหมาะสม

  • ตรวจวัดค่าสายตาและเลือกแว่นตาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ดวงตาทำงานหนักเพิ่มขึ้น

 

ต้อกระจกต้อกระจกต้อกระจกต้อกระจกต้อกระจก

 

 

“ดวงตา ช่วยให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ การใช้ดวงตาอย่างหนักในชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อสุขภาพตาของเราโดยตรง เราจึงควรให้ความสำคัญในการดูแล

 

 

หมั่นตรวจเช็คสุขภาพดวงตาเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง เพราะดวงตาที่เสื่อมสภาพอาจนำไปสู่โรคทางตาต่างๆ และบางโรคอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นแบบถาวร

 

 

แก้ไข

27/02/2567