นพ. นภสินธุ์ เถกิงเดช
ประสาทศัลยศาสตร์
เนื้องอกในสมองที่เงียบที่สุด อะคูสติก-นิวโรมา
นพ. นภสินธุ์ เถกิงเดช
ประสาทศัลยแพทย์
อาการที่หูไม่ได้ยินนั้นส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเนื้องอกในสมอง อย่างไรก็ตาม มีเนื้องอกในสมองชนิดนึงที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้เหมือนกัน สิ่งนั้นคือเนื้องอกที่เกิดจากเส้นประสาทหูที่ชื่อว่า Acoustic neuroma หรือ Vestibular schwannoma โดยชื่อที่เราเรียกกันติดปากในวงการบ้านเรา คือ "เนื้องอกอะคูสติก-นิวโรมา"
เนื้องอกชนิดนี้ไม่ใช่เนื้องอกชนิดร้ายแรงและยังเป็นชนิดดีที่มักจะโตช้า (WHO grade I) โดยที่เราพบว่า
เนื่องจากเนื้องอกชนิดนี้เกิดมาจากเซลล์ของเปลือกเยื้อหุ้มเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 (Schwann cell) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการรับเสียงและการทรงตัว ทำให้อาการแสดงหลักของโรคนี้ที่พบบ่อย คือ สูญเสียการได้ยินและเดินเซอย่างที่กล่าวไว้แล้วนั่นเอง
เนื้องอกชนิดนี้สัมพันธ์กับการทำงานของหู ทำให้การศึกษาหาสาเหตุและการหาปัจจัยกระตุ้นให้เกิดเนื้องอกอะคูสติกนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การรับฟังเสียงที่ผิดธรรมชาติ เช่น การอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังนานเกินไป การคุยกันผ่านมือถือบ่อย ว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะมีโอกาสการทำให้เกิดโรคเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งน่าสนใจมากเพราะผลงานวิจัยพบว่าการใช้มือถือมากกว่า 10 ปี หรือการได้ยินเสียงดังมากโดยที่ไม่ได้ใส่เครื่องป้องกัน ดูเหมือนว่าจะสามารถเพิ่มโอกาสการเกิดเนื้องอกในสมองได้ แต่ก็เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น ไม่ชัดเจนถึงขนาดที่ยืนยันได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกในสมองอะคูสติกแน่นอน
ปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงอย่างเดียวที่มีผลชัดเจนต่อการเกิดเนื้องอกนี้ คือ การที่ผู้ป่วยเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ชื่อ Neurofibromatosis (NF2) ซึ่งโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของยีนส์ที่โครโมโซมคู่ที่ 22 ทำให้คนที่มีโรคนี้มีลักษณะเด่น คือมีเนื้องอกในสมองที่เกิดจากเส้นประสาทหูทั้งข้างซ้ายและข้างขวา รวมถึงอาจมีเนื้องอกในสมองชนิดอื่นร่วมด้วย
MRI ถือเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ค้นหาโรคนี้ โดยเฉพาะในเนื้องอกอะคูสติก บางครั้งมีขนาดเล็กมากแม้เพียงแค่ 1-2 มิลลิเมตรซึ่ง MRI ก็สามารถตรวจพบได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยไม่สามารถเข้าเครื่อง MRI ได้ การตรวจด้วยเครื่อง CT scan ก็เป็นตัวเลือกถัดมาที่พอใช้ได้ในเบื้องต้น นอกจาก MRI ทำให้เราเห็นหน้าตาของเนื้องอกแล้ว ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับการตรวจการได้ยินที่เรียกว่า Audiogram โดยใช้เครื่อง Audiometry ด้วยเสมอ เพราะช่วยให้เราทราบถึงผู้ป่วยมีระดับการได้ยินเท่าไหร่ เพื่อวางแนวทางการรักษาต่อไปในอนาคต
การเลือกวิธีการรักษาจะขึ้นกับหน้าตาของเนื้องอกและอาการของผู้ป่วยเป็นหลักครับ โดยเฝ้าดูอาการเป็นอย่างแรก
การรักษาเนื้องอกที่เกิดจากเส้นประสาทหูโดยทั่วไปประกอบด้วย
แพทย์จะเลือกใช้ในกรณีที่เนื้องอกมีขนาดเล็ก โดยเฝ้าดูอาการและสังเกตุพฤติกรรมของเนื้องอกร่วมกับผู้ป่วย เช่น เนื้องอกมีแนวโน้มโตเร็วหรือไม่ มีอาการผิดปกติมากขึ้นหรือไม่ นอกจากนี้แพทย์ยังต้องตรวจการได้ยินจากเครื่อง Audiometry ร่วมกับตรวจ MRI อยู่เป็นระยะ ซึ่งอาจเป็นทุกไตรมาส ก่อนขยับเป็นรายปี หากตรวจพบว่าเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่า 2.5 มิลลิเมตรต่อปีแล้ว ผู้ป่วยก็มีโอกาสหูหนวกถาวรในอีก 10 ปีข้างหน้า ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดหรือ ฉายแสง จะได้รับการพิจารณานำมาใช้เป็นตัวเลือกทันที
ที่มา : ขอบคุณภาพจาก นพ. นภสินธุ์ เถกิงเดช ประสาทศัลยแพทย์
กรณีที่ตรวจพบเนื้องอกเป็นครั้งแรกแล้วพบว่าเนื้องอกมีขนาดมากกว่า 3 เซนติเมตรนั้น การผ่าตัดจึงกลายเป็นการรักษาทางเลือกถัดมา การผ่าตัดเนื้องอกอะคูสติกมีท่าและหลายเทคนิคซึ่งขึ้นกับหน้าตาของเนื้องอกและระดับการได้ยินเสียง ส่วนใหญ่แพทย์จะผ่าตัดและลงแผลบริเวณหลังใบหูด้วยท่านอนตะแคงหรือท่านั่ง เพื่อเข้าไปหาเนื้องอกที่อยู่ใกล้กับสมองน้อยและก้านสมอง โดยใช้กล้องขยายให้เห็นภาพละเอียดและคมชัดพอให้ผ่าตัดได้สะดวก
นอกจากนี้ศัลยแพทย์ยังต้องใส่ใจเรื่องปัญหาแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการบาดเจ็บของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 และ 8 เพราะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปากเบี้ยว บางรายอาจมีอาการหูดับถาวรจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทคู่ที่ 8 หลับตาไม่สนิทจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทคู่ที่ 7
นอกจากนี้การรั่วไหลของน้ำไขสันหลังที่ใช้ในการหล่อเลี้ยงสมองออกมาทางหูหรือแผลผ่าตัดก็เป็นสิ่งที่ศัลยแพทย์เป็นห่วงหลังผ่าตัด เนื่องจากการรั่วที่เกิดขึ้นล้วนเพิ่มโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าผ่านไปในสมองจนเกิดการติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ผ่าตัดพิเศษที่มีลักษณะเป็นกาวเหนียวสำหรับใช้ปิดทับบริเวณเยื่อหุ้มสมองหลังเสร็จสิ้นการผ่าตัด
การฉายแสงก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในกรณีที่เนื้องอกมีขนาดไม่ใหญ่มาก (น้อยกว่า 3 เซนติเมตร) เนื่องด้วยวิทยาการแพทย์ปัจจุบันทำให้แพทย์สามารถฉายแสงได้หลายเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นการฉายแสงด้วยเทคนิค Fractionated RT หรือการฉายแสงแบบพิเศษเฉพาะที่ (SRS) เช่น gamma knife, cyber knife ก็มีบทบาทสำคัญในการลดขนาดของเนื้องอกได้ดี
การฉายแสงยังมีผลข้างเคียงที่แพทย์ต้องคำนึงถึง เนื่องจากมีงานศึกษาพบว่าหลังการได้รับการฉายแสงแบบพิเศษเฉพาะที่ (SRS) แล้ว 14 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่ขนาดโตขึ้นได้ นอกจากเนื้องอกจะมีโอกาสโตขึ้นแล้ว การฉายแสงก็อาจกระทบกับตัวเส้นประสาทโดยตรง ซึ่งส่งผลให้เส้นประสาทบาดเจ็บได้ ปัจจัยเหล่านี้จำเป็นต้องเอามาใช้พิจารณาเพื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีอื่นว่าวิธีใดเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เพื่อลดโอกาสเสี่ยงเกิดปัญหาเหล่านี้ การใช้เครื่องตรวจติดตามการทำงานของระบบประสาท (Intraoperative neuro-monitoring (IONM)) มีบทบาทสำคัญอย่างมาก อุปกรณ์เหล่านี้ยังช่วยให้ทราบถึงแนวของเส้นประสาทสมองที่อาจเห็นไม่ชัดเจน เนื่องจากอาจเกิดการดันเบียดแนวเส้นประสาทสมองให้กลืนไปกับตัวเนื้องอกจนดูเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยเหตุนี้การใช้เครื่องมือ IONM จะช่วยลดโอกาสการเอาเส้นประสาทสมองออกไปพร้อมกับเนื้องอกได้
พบว่า 59 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมีเนื้องอกโตในอัตราเฉลี่ยน้อยกว่า 1 มิลลิเมตรต่อปี และมีแค่ 12 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เนื้องอกจะโตขึ้นมากกว่า 3 มิลลิเมตรต่อปี ดังนั้นแปลว่าการเฝ้าดูใช้ได้ผลดีกับเนื้องอกชนิดนี้ที่ขนาดไม่ใหญ่มาก เนื่องจากส่วนใหญ่เนื้องอกไม่ค่อยโตเท่าไหร่ อีกหนึ่งการศึกษายังพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ใช้วิธีการเฝ้าดูนี้มีโอกาสที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือการฉายแสงในอนาคตจะมีแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง โดยสรุป หูดับ เดินเซ เวียนศีรษะ อย่าประมาท เพราะ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของเนื้องอกในสมองอะคูสติกที่ทำให้เราต้องอยู่กับความเงียบไปตลอดกาลได้
"หูเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เราได้ยิน ถึงแม้ว่าบางครั้งเราจะเลือกไม่ได้ว่า อยากฟังหรือไม่อยากฟัง แต่แม้ว่าเราจะเลือกไม่ได้มนุษย์เราก็ยังโชคดีที่มีสมองที่ช่วยให้เราเลือกได้ว่า อยากจำหรือไม่อยากจำในเสียงที่ได้ยินเหล่านั้น"
อ่านเพิ่มเติม: เนื้องอกต่อมใต้สมอง : เนื้องอกที่เกิดตรงส่วนเล็ก ๆ ของสมอง
ประสาทศัลยศาสตร์