กินยาคุมกำเนิดนานๆ ควรดูแลสุขภาพอย่างไร ?

January 31 / 2024

 

 

กินยาคุมกำเนิดนานๆ ควรดูแลสุขภาพอย่างไร ?

 

 

 

พญ.ศรีสุภา  เลาห์ภากรณ์

สูติ-นรีเวช

 

ยาเม็ดคุมกำเนิด (Oral contraceptive pill) คือ ยาที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศหญิง คือฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจน ปัจจุบันมีการใช้ยาคุมอย่างแพร่หลายทั้งคุมกำเนิด รักษาสิว และรักษาโรคเกี่ยวกับประจำเดือน เช่นประจำเดือนออกมาก มาไม่เป็นรอบ กะปริบกระปรอย ปวดประจำเดือน โรคทางนรีเวช เช่นถุงน้ำรังไข่ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื่องจากส่วนประกอบของยาคุมส่งผลต่อระบบหลอดเลือด และอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเช่น เต้านม ปากมดลูก ไขมันในเลือด การแข็งตัวของเลือด ดังนั้นสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดควรมีความรู้และความเข้าใจหมั่นตรวจเช็คสุขภาพตนเองในช่วงที่ทานยาคุมกำเนิด ดังต่อไปนี้

 

 

การตรวจเต้านม

 

จากข้อมูลสถิติโรคมะเร็งของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2556-2558 (Cancer in Thailand Vol. IX, 2013-2015) ปัจจุบันมีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มสูงขึ้นในสตรีไทย พบมากในสตรีอายุ 30-70 ปี

 

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้แก่ เพศหญิง อายุที่เพิ่มขึ้น ประวัติพันธุกรรมในครอบครัว การได้รับรังสีบริเวณหน้าอก การดื่มแอลกอฮอล์ ความอ้วน การมีประจำเดือนเร็วก่อน 12 ปี หมดประจำเดือนช้า ไม่เคยตั้งครรภ์ มีบุตรคนแรกหลังอายุ 30 ปี และพบว่าการทานยาคุมมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยต่อการเกิดมะเร็งเต้านมเช่นกัน สตรีควรทราบปัจจัยเสี่ยงและสามารถที่จะควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นให้ได้ เช่น การควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย ไม่ให้อ้วน การไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แนะนำให้ให้สตรีควรทำความคุ้นเคยกับเต้านมตนเองเพื่อให้ทราบว่าเต้านมปกติเป็นอย่างไร และเมื่อพบการเปลี่ยนแปลง เช่น พบก้อน หรือมีของเหลวออกจากหัวนมให้รีบไปพบแพทย์ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือรับประทานยาคุม หรือฮอร์โมนทดแทน ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม

(อ้างอิงจากศูนย์ถันยรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช)

  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
    แนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ในช่วงอายุนี้ไม่จำเป็นต้องทำแมมโมแกรม
  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
    แนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และควรตรวจแมมโมแกรมทุก 2 ปี
  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
    แนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และควรตรวจแมมโมแกรมทุก 1 ปี
  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
    แนะนำให้รวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และควรตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
  • สำหรับกลุ่มที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือมีประวัติได้รับการฉายรังสีที่หน้าอก ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจะต้องตรวจแมมโมแกรมเร็วกว่าปกติ

กลุ่มเสี่ยง (high risk)

  • มีประวัติญาติสายตรง ได้แก่ มารดา พี่สาว/น้องสาว และบุตร เป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งที่รังไข่
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม (invasive cancer or ductal carcinoma in situ)
  • ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายแสงบริเวณหน้าอก ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคเป็น Hodgkin’s disease หรือ non-Hodgkin lymphoma เป็นต้น
  • ผู้ที่มีประวัติ breast biopsy แล้วมีผลเป็น atypical ductal hyperplasia, lobular neoplasia
  • ผู้ที่ได้รับประทานฮอร์โมนเสริมทดแทนวัยหมดประจำเดือนเป็นประจำเกินกว่า 5 ปี
  • ผู้หญิงกลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเหมือนกับกลุ่มผู้หญิงทั่วไป แต่ควรจะต้องเริ่มตรวจเร็วขึ้น เช่น ในกรณีที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมที่อายุน้อยกว่า 50 ปี หรือ วัยก่อนหมดประจำเดือน ควรทำการตรวจคัดกรองเมื่ออายุที่ญาติเป็นมะเร็งเต้านมลบออก 10 ปี และควรตรวจทุก 1 ปี

 

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

 

 

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสอง ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในสตรีไทย

ปัจจัยเสี่ยง (Risk factor)
ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูกชนิดใด ความเสี่ยงในการเกิดโรค สัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV ซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศ และโรคติดต่อทางทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งได้แก่

  • การเริ่มมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย – พบว่าความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในกลุ่มที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ตอนอายุน้อยกว่า 18 ปี เมื่อเทียบกับกลุ่มที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ตอนอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 21 ปี
  • การมีคู่นอนหลายคน – เมื่อเปรียบเทียบกับคู่นอนคนเดียว พบว่าความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมด เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในคนที่มีคู่นอน 2 คน และเพิ่มเป็น 3 เท่าในคนที่มีคู่นอนมากกว่าหรือเท่ากับ 6 คน คู่นอนที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ คู่นอนที่มีคู่นอนหลายคน หรือคู่นอนที่มีประวัติติดเชื้อ HPV
  • มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ – เช่น Chlamydia trachomatis, genital herpes
  • ประวัติการเคยเป็นมะเร็งหรือมีเซลล์เยื่อบุผิดปกติ ที่ช่องคลอดหรือที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (vulva or vaginal squamous intraepithelial neoplasia or cancer) ซึ่งเชื้อ HPV เป็นสาเหตุหลักของความผิดปกติชนิดนี้
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immunosuppression) – เช่น การติดเชื้อ HIV
  • อายุที่เริ่มมีบุตรคนแรก (น้อยกว่า 20 ปี) และการมีบุตรหลายคน
  • สตรีที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ (Low socioeconomic status)
  • การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานตั้งแต่ 5 ปี  ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการรับประทานยาคุมกำเนิดความเสี่ยงจะลดลงหลังหยุดทานยาคุม
  • การสูบบุหรี่ – สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูกชนิด squamous cell แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกชนิด adenocarcinoma เมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่
  • ในสตรีที่มีคู่นอนที่ขลิบอวัยวะเพศ (Circumcision) พบว่ามีโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้น้อยกว่า

 

โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้หลายวิธี เพื่อให้เข้าใจง่าย ขอแบ่งการป้องกันออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่

  • ระดับปฐมภูมิ คือ การป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย การป้องกันระดับนี้มีหลายวิธี เช่น การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่นอนเพียงคนเดียว การป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัย นอกจากนั้นปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เป็นการฉีดเพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อไวรัส HPV ซึ่งวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกแนะนำให้ฉีดในเด็กผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9 -12 ปี ฉีด 2 เข็ม โดยเข็ม 2 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ต้องทำการฉีดทั้งหมด 3 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกเป็นเวลา 1 - 2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน โดยวัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 70 - 75 % สามารถฉีดได้จนถึงอายุ 45 ปี
  • ระดับทุติยภูมิ เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อหาเซลล์ผิดปกติของปากมดลูกและนำไปสู่การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง ซึ่งวิธีการตรวจคัดกรองนี้มีหลายวิธี ได้แก่ วิธีตรวจหาเซลล์ผิดปกติบริเวณปากมดลูก หรือที่เรียกว่า “แปบสเมียร์” ซึ่งมีความแม่นยำนอกจากนั้น มีวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV โดยอาศัยหลักการที่ว่าถ้าไม่มีเชื้อไวรัสก็จะไม่กลายเป็นมะเร็ง

 

 

 

คำแนะนำในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสำหรับสตรีไทย

(อ้างอิง: สถาบันมะเร็งแห่งชาติกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข)

 

 

การตรวจสุขภาพสำหรับสตรีอายุ ≥35 ปี ที่มีความเสี่ยงต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ

 

  • การชั่งน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะอ้วน BMI>30 kg/m2
  • การตรวจวัดความดันโลหิต : มีการศึกษาพบว่าสตรีที่ทานยาคุมมีความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตันที่หัวใจและสมอง ดังนั้นการใช้ยาคุมในสตรีที่มีความดันโลหิตสูต้องพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
  • การตรวจไขมันในเลือด : สำหรับสตรีที่ควบคุมไขมันในเลือดดี สามารถใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมขนาดเอสโตรเจน < 35 ไมโครกรัมได้ แต่ในสตรีที่ควบคุมไขมันไม่ดี LDL >160 mg/dL หรือมีความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ควรพิจารณาการใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
  • การตรวจเบาหวาน : การใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อเบาหวานชนิด type 2 อย่างไรก็ตามการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมพิจารณาในสตรีที่อายุ <35 ปีคุมเบาหวานได้ดี ไม่สูบบุหรี่ ไม่มีความดันโลหิตสูง เบาหวานเข้าไต (nephropathy) หรือขึ้นจอประสาทตา (retinophaty)
  • การตรวจระบบหลอดเลือดและหัวใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

การทานยาคุมกำเนิด นอกจากการใช้เพื่อคุมกำเนิดแล้วยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับประจำเดือน สิว ถุงน้ำในรังไข่แล้ว ยาคุมยังมีประโยชน์ป้องกันมะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน ดังนั้นการเลือกใช้ยาคุมกำเนิดควรพิจรณาข้อบ่งชี้ให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่ต้องระวังตลอดการใช้ยาคุมกำเนิด หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติจากการใช้ยาคุมกำเนิดควรรีบมาพบแพทย์ทันที

 

การเลือกใช้ยาคุมกำเนิดควรพิจรณาข้อบ่งชี้ให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่ต้องระวังตลอดการใช้ยาคุมกำเนิด หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที

 

นัดพบแพทย์คลิก

พญ.ศรีสุภา  เลาห์ภากรณ์

สูติ-นรีเวช

 

 

แก้ไขล่าสุด 27/07/63

 

 

 

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพ เอาใจวัยทำงาน (ผู้ชาย) - โรงพยาบาลรามคำแหง

"ใครที่โหมงานหนักทุกวัน จนร่างกายใกล้พัง..อย่ารอช้า! “แพ็กเกจตรวจสุขภาพ เอาใจวัยทำงาน” ตอบโจทย์แน่นอน

ราคา 8,490 บาท

แพ็กเกจผ่าตัดคลอดแบบเหมา ๆ ใช้จ่าย อุ่นใจ สบายกระเป๋า

ดูแลครอบคลุม คุ้มค่ากับราคาเหมาๆ ดูแลใส่ใจคุณแม่และลูกน้อยทุกขั้นตอนอย่างดีที่สุด

ราคา 72,000 บาท

Premium Health package ผู้ชาย

"เพราะปัญหาสุขภาพอาจไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า อย่ารอให้เจ็บป่วยค่อยใส่ใจ"

ราคา 3,990 บาท

Healthy heart package (ผู้หญิง)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้หญิง)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพของสตรี - Superior health 45+ ผู้หญิง

เพราะทำงานหนัก การตรวจสุขภาพที่เจาะลึกจึงสำคัญ

ราคา 11,490 บาท